เช็กร่างปรับฐานค่าจ้าง ผู้ประกันตน ม.33 จ่ายเงินสมทบเพิ่มเป็นหลักพัน

เช็กร่างปรับฐานค่าจ้าง ผู้ประกันตน ม.33 จ่ายเงินสมทบเพิ่มเป็นหลักพัน



กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กำลังพิจารณาการกำหนดค่าจ้างขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ของผู้ประกันตนมาตรา 33 อัตราใหม่

เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกองทุนในการรองรับรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเป็นไปตามมาตรฐานเพดานค่าจ้างขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)

ขั้นตอนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประกันสังคมเมื่อกลางปี 2565 จากนั้นกระทรวงแรงงานได้ยกร่างกฎกระทรวง และนำร่างไปเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง

ครั้งที่ 1 ผ่านทางระบบกลางทางกฎหมาย (LAW.co.th) เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 โดย ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 มีผู้ร่วมเสนอความเห็นแล้วมากกว่า 2,414 คน

สำหรับจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33 ในระบบประกันสังคม ข้อมูลอัพเดต ณ เดือนมกราคม 2566 คือมีจำนวน 11,618,874 คน

เหตุผลปรับฐานคำนวณเงินสมทบ

ทั้งนี้ กฎกระทรวงฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้กำหนดค่าจ้างขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนมาตรา 33 ไว้ไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2538 จนถึงปัจจุบัน

โดยเหตุผลสำคัญของร่างกฎหมาย หรือกฎหมายใหม่ที่ สปส.นำมารับฟังความคิดเห็น ประกอบด้วย

  • เพื่อสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเป็นไปตามมาตรฐานเพดานค่าจ้างขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
  • เพื่อความเพียงพอของสิทธิประโยชน์ที่เป็นเงินทดแทนการขาดรายได้
  • เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกองทุนรองรับรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น
  • เพื่อการกระจายรายได้จากผู้มีรายได้มากไปสู่ผู้มีรายได้น้อย ภายในระบบประกันสังคม

อัตราใหม่เท่าไหร่ เริ่มเมื่อไหร่?

โดยร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. …. จะมีการปรับฐานค่าจ้างขั้นสูงจาก 15,000 บาท อย่างค่อยเป็นค่อยไป 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 17,500 บาท

จากเดิมฝั่งลูกจ้างผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 5% ของค่าจ้าง แต่สูงสุดไม่เกิน 750 บาท (คำนวณจากฐานค่าจ้าง 15,000 บาท) จะเพิ่มเป็นจ่ายเงิน 875 บาท (คำนวณจากฐานค่าจ้าง 17,500 บาท)

ระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2570 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2572 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 20,000 บาท

จากเดิมฝั่งลูกจ้างผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 5% ของค่าจ้าง แต่สูงสุดไม่เกิน 750 บาท (คำนวณจากฐานค่าจ้าง 15,000 บาท) จะเพิ่มเป็นจ่ายเงิน 1,000 บาท (คำนวณจากฐานค่าจ้าง 20,000 บาท)

ระยะที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 23,000 บาท

จากเดิมฝั่งลูกจ้างผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 5% ของค่าจ้าง แต่สูงสุดไม่เกิน 750 บาท (คำนวณจากฐานค่าจ้าง 15,000 บาท) จะเพิ่มเป็นจ่ายเงิน 1,150 บาท (คำนวณจากฐานค่าจ้าง 23,000 บาท)

ประโยชน์จากการปรับฐาน

ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับผู้ประกันตนคือ ทำให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้น เนื่องจากฐานที่ใช้ในการคำนวณเพื่อรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวจะคำนวณจากค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ดังนี้

1.เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน

2.เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ 70% หรือ 30% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน

3.เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน

4.เงินสงเคราะห์กรณีตาย 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน

5.เงินทดแทนการขาดรายได้ในกรณีว่างงาน 50% หรือ 30% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน

6.เงินบำนาญชราภาพไม่ต่ำกว่า 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่นำส่งเข้ากองทุน โดยผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบ 15 ปี จะได้รับบำนาญ 20% ของค่าจ้าง ส่วนผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบมากกว่า 15 ปี จะได้รับบำนาญเพิ่มอีก 1.5% ทุกการส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน

สำหรับเงินบำเหน็จชราภาพจะได้รับเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ เนื่องจากมีการนำส่งเงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเพิ่มขึ้น จากการปรับฐานที่ใช้ในการคำนวณเงินสมทบ

ตัวอย่างผลต่อผู้ประกันตน ดังนี้

ในปี 2567 ผู้ประกันตนที่ค่าจ้างมากกว่า 17,500 บาทต่อเดือน จะส่งเงินสมทบเดือนละ 875 บาท (เดิม 750 บาท) และจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น เช่น เงินทดแทนขาดรายได้กรณีว่างงานเพิ่มเป็นเดือนละ 8,750 บาท (เดิม 7,500 บาท) เป็นต้น



บทความโดย : https://www.prachachat.net/ 

 20574
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เงินที่พนักงานเอกชน หรือผู้ประกันตนมาตรา 33 ถูกหักเข้าไปสมทบประกันสังคม จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ประกันว่างงาน และสุดท้ายคือ เงินชราภาพ ที่เราจะได้รับเมื่อยามเกษียณ ซึ่งมาจาก 3% ของฐานเงินเดือน หมายความว่า หากเราจ่ายเงินสมทบในอัตราสูงสุดที่ 750 บาทต่อเดือน ก็จะถูกหักเงินเข้ามาเป็นเงินออมชราภาพ จำนวน 450 บาท ทันที
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
ผู้ประกันตนแต่ละมาตราที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม สามารถคัดสำเนาการนำส่งเงินสมทบ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ โดยแต่ละมาตราจะลดหย่อนได้สูงสุดเท่าไหร่ เช็คได้ที่นี่เลย
ในฐานะผู้ประกันตนทั้งมาตรา 33 39 และ 40 ที่ต่างต้องจ่ายเงินสมทบให้แก่สำนักงานประกันสังคม  (สปส.) นอกจากได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น การรักษาพยาบาล บำเหน็จชราภาพ เงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน  ฯลฯ แล้ว ล่าสุดทาง สปส. ก็ได้จัดสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมให้ ทั้งในส่วนการดูแลสุขภาพและการลดภาระเงินกู้ซื้อบ้าน ดังนี้
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์