ประกันสังคม แต่ละมาตราแตกต่างกันอย่างไร

ประกันสังคม แต่ละมาตราแตกต่างกันอย่างไร


ประกันสังคมถือเป็นสิ่งที่นายจ้างและลูกจ้างในทุก ๆ บริษัทจำเป็นที่จะต้องดำเนินการส่งเงินสมบทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยหักจากเงินเดือนจำนวน 5 % หรือไม่เกิน 750 บาท เพื่อเป็นหลักประกันในการดำรงชีวิตและได้รับสวัสดิการที่รัฐมอบให้ เมื่อเกิดกรณีที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นแล้วจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็น กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย, กรณีคลอดบุตร, กรณีทุพพลภาพ, กรณีเสียชีวิต, กรณีสงเคราะห์บุตร, กรณีชราภาพ หรือกรณีว่างงาน 

ทั้งนี้ประกันสังคมนั้นมีอยู่ทั้งหมด 3 มาตรา โดยแบ่งออกเป็น มาตรา 33 มาตรา 39 และ มาตรา 40 ซึ่งในแต่ละมาตราก็จะแตกต่างกันออกไปทั้งคุณสมบัติของผู้ประกันตนและสวัสดิการต่าง ๆ ที่จะได้รับจากประกันสังคม
 

มาตรา 33 คืออะไร และ ได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

มาตรา 33 คือ เป็นลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ และอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์เท่านั้น

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ

คุ้มครองทั้งหมด 7 กรณีดังนี้

มาตรา 39 คืออะไร และ ได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

มาตรา 39 คือ เคยเป็นผู้ที่อยู่ในมาตรา 33 มาก่อน ทั้งนี้ได้มีการสมทบเงินมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลาออกจากงาน

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ 

คุ้มครองทั้งหมด 6 กรณีดังนี้

    • เจ็บป่วย
    • คลอดบุตร
    • ทุพพลภาพ
    • เสียชีวิต
    • สงเคราะห์บุตร
    • ชราภาพ

มาตรา 40 คืออะไร และ ได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

มาตรา 40 คือ บุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ซึ่งทำงานโดยไม่มีนายจ้าง 

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ 

คุ้มครองทั้งหมด 3-5 กรณีขึ้นอยู่กับทางเลือก ดังนี้

    • เงินทดแทนการขาดรายได้
    • ทุพพลภาพ
    • ตาย
    • สงเคราะห์บุตร
    • ชราภาพ (บำเหน็จ)

วิธีเช็คสิทธิประกันสังคมด้วยตนเอง ผ่านระบบออนไลน์

กดสมัครสมาชิก

อ่านรายละเอียดให้ครบถ้วน กดยอมรับข้อตกลง และ กดถัดไป

กรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน กดปุ่ม ‘ถัดไป’ จากนั้นขอและใส่รหัส OTP ถือว่าการสมัครเสร็จสมบูรณ์

ใส่เลขบัตรประชาชนและรหัสจากนั้นกด ‘เข้าสู่ระบบ’

เพียงเท่านี้ระบบก็จะโชว์รายละเอียดประกันสังคมของท่าน

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : bestreview.asia,ประกันสังคม
 6591
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เงินที่พนักงานเอกชน หรือผู้ประกันตนมาตรา 33 ถูกหักเข้าไปสมทบประกันสังคม จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ประกันว่างงาน และสุดท้ายคือ เงินชราภาพ ที่เราจะได้รับเมื่อยามเกษียณ ซึ่งมาจาก 3% ของฐานเงินเดือน หมายความว่า หากเราจ่ายเงินสมทบในอัตราสูงสุดที่ 750 บาทต่อเดือน ก็จะถูกหักเงินเข้ามาเป็นเงินออมชราภาพ จำนวน 450 บาท ทันที
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กำลังพิจารณาการกำหนดค่าจ้างขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ของผู้ประกันตนมาตรา 33 อัตราใหม่
ผู้ประกันตนแต่ละมาตราที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม สามารถคัดสำเนาการนำส่งเงินสมทบ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ โดยแต่ละมาตราจะลดหย่อนได้สูงสุดเท่าไหร่ เช็คได้ที่นี่เลย
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์