เมื่อมีการ "เลิกจ้าง" นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชย

เมื่อมีการ "เลิกจ้าง" นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชย



เมื่อมีการ "เลิกจ้าง" นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชย

[ย้ำแล้วย้ำอีกว่าถ้า "ลาออก" ไม่ได้ค่าชดเชย
และขอเตือนว่าระวังจะถูกหลอกให้เซ็นใบลาออก]

การเลิกจ้างมี ๒ กรณี คือ
๑) เลิกจ้างโดยชัดแจ้ง ซึ่งนายจ้างจะบอกกล่าวเลิกจ้างด้วยวาจา หรือเป็นหนังสือก็ได้

๒) เลิกจ้างโดยปริยาย แปลว่านายจ้างไม่ได้พูดตรงๆ ว่าจะเลิกจ้าง แต่มีพฤติการณ์ว่าจะไม่ให้ทำงานต่อไป โดยการกระทำการใดๆ อันอาจเป็นผลให้ลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานต่อไปได้ ซึ่งศาลฎีกาเคยตัดสินไว้หลายกรณี เช่น ลดวันทำงานลง และจ่ายค่าจ้างเฉพาะวันที่มาทำงาน หรือนายจ้างบอก รปภ ว่าถ้าลูกจ้างคนนี้มาทำงานห้ามเข้ามา หรือนายจ้างบอกกับทุกคนในบริษัทว่าห้ามคุยกับลูกจ้างคนนี้ ถือเป็น "เลิกจ้างโดยปริยาย" มีสิทธิได้รับค่าชดเชย

แต่คดีนี้ (ฎีกาที่ ๓๗๘๐/๒๕๔๒) นายจ้างลดตำแหน่งของลูกจ้างลงจากเป็นพนักงานระดับ ๖ เป็นพนักงานขายระดับ ๕ แต่ค่าจ้างไม่ลดยังรับเท่าเดิม ศาลฎีกาตัดสินว่าการกระทำของนายจ้างไม่ใช่เป็นการกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป จึงไม่เป็นการเลิกจ้าง จะฟ้องเรียกค่าชดเชยไม่ได้

ข้อสังเกต
แต่กรณีนี้ถือเป็นการเปลี่ยสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง ไม่สามารถทำได้

ที่มา: หนังสือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน, รองศาสตราจารย์ตรีเนตร สาระพงษ์, หน้า ๔๖๓

โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปที่ผ่านการรองรับมาตราฐานกรมสรรพากร เพื่อการลงบัญชีที่ถูกต้องแม่นยำ เลือกโปรแกรมบัญชีจาก Prosoft
 1443
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-739-5902

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-739-5903

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์