การเงินและบัญชี

การเงินและบัญชี

352 รายการ
ภาษีที่ดินใหม่ เริ่มใช้จริง ปี  2563กฎหมายภาษ๊ที่ดินใหม่แบ่งออกเป็น 4 ประเภท เพื่อการเกษตรกรรม อยู่อาศัย พาณิชกรรม และที่ดินรกร้างกฎหมายภาษีใหม่นี้ผลักดันให้เกิดการสร้างประโยชน์ในที่ดิน และพื้นที่ดินที่ไม่เกิดประโยชนจะเสียภาษีในอัตราที่ค่อนข้างสูง อาจเกิดแรงขายที่ดินเปล่าในตลาด และอาจเกิด Over Supply ในกลุ่มอสังหาใครมีที่ดินเปล่าควรพัฒนาที่ดินของตัวไม่ว่าจะเป็นสร้างบ้านหรือทำเป็นพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้เข้าข่ายเป็นพื้นที่รกร้างและเสียภาษีสูงใครที่มีบ้านหลายหลังควรจัดการบริหารให้ดี เพราะมีสิทธิ์ยกเว้นภาษีสำหรับบ้านหลังแรกหรือบ้านที่เราอาศัยภาษีที่ดินใหม่ เริ่มใช้จริง วันที่ 1 มกราคม 2563
4625 ผู้เข้าชม
ค่าปรับ ยื่นงบล่าช้า ไม่ยื่นงบ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร 1. ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าหรือไม่ได้ยื่นงบการเงิน คือ ค่าปรับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือ หมายเรียกตำรวจ (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) – กรณีมิได้ยื่นงบการเงิน • ถ้าประชุมเกินกำหนดเวลา ก็จะเป็นกรณี “ไม่นํางบดุลเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ภายใน 4 เดือน นับแต่ วันที่ลงในงบดุล” จะถูกเรียกเก็บค่าปรับทั้งในส่วนของบริษัท 6,000 บาท และกรรมการผู้มีอํานาจ โดยคำนวณตามจำนวนกรรมการที่ลงชื่อผูกพันบริษัทคนละ 6,000 บาท • กรณีไม่นำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ซึ่งตามกฎหมายต้องส่งภายใน 14 วันนับจากวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี ซึ่งหากมิได้นำส่งตามกำหนดดังกล่าวมีโทษเปรียบเทียบปรับกรรมการคนละ 2,000 บาท 2. ค่าปรับกรมสรรพากร • ค่าปรับอาญายื่นแบบเกินกำหนด ไม่เกิน 2,000 บาท (ปกติต้องยื่นภงด.50 ภายใน 150 วันนับจากวันสิ้นรอบบัญชี) • ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน 1,000 บาท • ยื่นแบบเกิน 7 วัน 2,000 บาท • ค่าปรับอาญาไม่ยื่นงบการเงิน 2,000 บาท • เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) กรณีมีภาษีที่ต้องชำระ • อายุความเปรียบเทียบปรับอาญา 1 ปี รายละเอียดเกี่ยวกับการยื่นงบการเงิน ** ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ไม่ยื่นงบการเงินหรือยื่นล่าช้าเกินกำหนดเวลามีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท และปรับผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการอีกไม่เกิน 50,000 บาทด้วย ทั้งนี้ กรมฯ ได้กำหนดอัตราค่าปรับตามระยะเวลาที่ยื่นงบการเงิน หากยื่นงบการเงินล่าช้า อัตราค่าปรับก็จะเพิ่มขึ้น ** #โปรแกรมคำนวณภาษี#โปรแกรมภาษี#โปรแกรมบัญชี สรรพากรรับรอง#โปรแกรมบัญชี ที่ดีที่สุด#โปรแกรมภาษีมูลค่าเพิ่ม#โปรแกรมบัญชีสำหรับธุรกิจ SME#ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป บัญชี#โปรแกรม ซอฟต์แวร์บัญชี#Accounting software#โปรแกรมบัญชี
14783 ผู้เข้าชม
 สำหรับธุรกิจที่มีการขายเชื่อโดยการให้เครดิตการค้ากับผู้ซื้อส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับปัญหาหนี้เสียมาแล้วทั้งสิ้นเจอหนี้เสีย, หนีหนี้, จ่ายหนี้ช้าเป็นปัญหาผู้บริหารต้องบริหารจัดการแต่ก็เป็นปัญหาที่จัดการยากที่สุด หลายคนบอกว่าก็ขายเงินสดซิจะได้ไม่ต้องมีปัญหานี้เลยหากกิจการขนาดเล็กๆขายอาหาร, ขนมหรือสมุนไพรก็ยังพอขายเงินสดได้แต่หากเป็นกิจการที่ใหญ่ขึ้นมากว่านั้นจำเป็นต้องขายสินค้าในปริมาณมากและเป็นเงินจำนวนมากผู้ซื้อสินค้าก็จะขอเครดิตการค้าอย่างแน่นอนซึ่งเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้เลย หากเรายังจะขายแต่เงินสดในขณะที่คู่แข่งขันให้เครดิตการค้าเราก็จะเสียโอกาสในการขายและคงเป็นกิจการที่เล็กๆต่อไป ดังนั้นการให้เครดิตการค้าแก่ผู้ซื้อไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอะไรหากเรามีระบบการติดตามหนี้สินและมีระบบการตรวจสอบก่อนการให้เครดิตการค้าแก่ผู้ซื้อแต่ละคนก็จะทำให้ความเสี่ยงเรื่องหนี้เสียและหนี้สูญจะน้อยลงไปได้
4130 ผู้เข้าชม
ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs จำนวนมากไม่ค่อยสนใจเรื่องของโครงสร้างทางการเงินและโครงสร้างเงินทุนของกิจการ เพราะการเริ่มธุรกิจมักจะเริ่มด้วยเงินส่วนตัวที่มีอยู่และเมื่อกิจการเติบโตขึ้นก็ใช้วิธีกู้เงินเท่านั้น สำหรับธุรกิจขนาดเล็กบางรายก็เริ่มธุรกิจด้วยเงินกู้ยืมจากคนอื่นก่อนจึงทำให้กิจการอยู่ไม่รอดเพราะมีภาระดอกเบี้ยจนกลายเป็นลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไป เป็นเรื่องที่น่าเสียดายสำหรับธุรกิจที่มีแนวคิดดีแต่การเริ่มต้นธุรกิจไม่มีการจัดการโครงสร้างทางเงินที่เหมาะสมทำให้ธุรกิจมีหนี้สินมากเกินไป และประสบปัญหาขาดสภาพคล่องจนถึงต้องเลิกกิจการไป
20128 ผู้เข้าชม
การคำนวณต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีและการเงินของกิจการ เป็นการบันทึกการวัดผลและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าของกิจการ โดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนจะใช้เวลาและลงรายละเอียดมากในกิจการที่ผลิตสินค้า แต่ไม่ได้หมายความว่ากิจการประเภทอื่นเช่นกิจการขายส่ง ขายปลีก ร้านอาหารหรือบริการต่างๆไม่มีความสำคัญในการที่ต้องคำนวณต้นทุนเลย การคำนวณต้นทุนสามารถนำไปใช้ได้ในทุกกิจการเพราะมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจดังนี้
26392 ผู้เข้าชม
ผู้ประกอบการที่กำลังเริ่มธุรกิจใหม่ มักกังวลถึงความเสี่ยงของธุรกิจว่าจะไปรอดหรือไม่และมีกำไรเพียงพอที่จะเสี่ยงลาออกมาจากงานประจำหรือไม่ รวมทั้งอยากทราบว่าจะขายจำนวนเท่าใดถึงจะคุ้มทุนในแต่ละเดือน เรื่องการหาจุดคุ้มทุนช่วยในการคาดการณ์ว่าเมื่อเริ่มธุรกิจแล้วควรจะขายเดือนละเท่าใดถึงไม่ขาดทุน การคำนวณหาจุดคุ้มทุนเป็นเรื่องไม่ยากเลยเพราะในแง่ของวิชาบัญชีและการเงินมีสูตรที่ใช้ในการคำนวณเพื่อวางแผนการขายให้ได้เท่าทุน มาเข้าใจเรื่องของจุดคุ้มทุน (Break-even point) ก่อนว่าคืออะไร จุดคุ้มทุนก็คือจุดที่ผู้ขายสินค้าขายได้ในปริมาณที่ทำให้ธุรกิจไม่ขาดทุนและไม่กำไร ก็คือเท่าทุนนั่นเอง ความจำเป็นในการคำนวณจุดคุ้มทุนก็เพื่อให้ผู้ประกอบการทราบว่าในแต่ละเดือนจะต้องขายสินค้าในปริมาณเท่าไหร่ถึงไม่ขาดทุน เมื่อทราบว่าจะต้องขายกี่ชิ้นต่อเดือนถึงเท่าทุนก็จะมีความพยายามที่จะขายให้ได้เท่าปริมาณนั้นเป็นอย่างน้อยและถ้าขายได้มากขึ้นก็จะเกิดกำไรทันที และหากว่าผู้ประกอบการได้พยายามขายสินค้าอย่างเต็มที่แล้วแต่ก็ยังไม่ถึงจุดคุ้มทุนสักทีอาจตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรเลิกขายสินค้านี้ดีกว่า
12420 ผู้เข้าชม
“เครื่องบันทึกการเก็บเงิน” เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญของผู้ประกอบการร้านค้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ร้านขายของชำ ร้านขายเสื้อผ้า โดยเฉพาะกับธุรกิจค้าปลีก ที่เครื่องนี้กลายเป็นผู้ช่วยตั้งแต่เก็บเงิน คิดเงินตามรายการสินค้าที่ขายไป และยังช่วยประมวลรายรับ รายจ่ายในแต่ละวัน ทำให้เห็นผลประกอบการได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง ที่สำคัญ ยังสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ซึ่งสะดวกต่อผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย
3362 ผู้เข้าชม
กรมสรรพากรมีหน้าที่จัดเก็บภาษีจากผู้เสียภาษีอากรทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลและเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บจึงได้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บฐานข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรโดยกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรแต่ละรายมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเพียง 1 หมายเลข ประกอบด้วยตัวเลข 10 หลัก ทั้งนี้ ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร ดังนี้
11780 ผู้เข้าชม
กิจการที่จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะได้แก่ การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักร โดยกิจการนั้น ไม่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
2106 ผู้เข้าชม
ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ว่าผู้ประกอบกิจการดังกล่าวจะประกอบกิจการในรูปของ
1955 ผู้เข้าชม
28672 ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์