News & Events

880 รายการ
ปัจจุบันนี้ผู้คนจำนวนมากเลือกหันหลังให้กับการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือมนุษย์ออฟฟิศแล้วเปลี่ยนมาทำธุรกิจจดทะเบียนบริษัทเป็นของตัวเองเพราะต้องการเป็นนายตัวเองและอยากมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเป็นเจ้าของธุรกิจ จึงจะเห็นว่าเจ้าของธุรกิจหลายคนไม่ได้เป็นคนที่มีความรู้พื้นฐานในการทำธุรกิจตั้งแต่แรก แต่หันมาเริ่มต้นตั้งใจและให้ความสนใจพร้อมกับมุ่งมั่นในการหาความรู้เพื่อสร้างธุรกิจของตนเองจนเรียกได้ว่าวันนี้มีธุรกิจ Start up มากมายที่มีแนวโน้มจะก้าวทันรายใหญ่ อย่างไรก็ตามในการทำธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งไม่เพียงอาศัยความรู้หรือวางแผนบริหารจัดการองค์กร วางแผนการโฆษณาหรือสร้างแบรนด์เพื่อแจ้งเกิดให้กับบริษัทหรือเพื่อเพิ่มรายได้ผลกำไรเท่านั้น ยังมีเรื่องสำคัญอย่างการจดทะเบียนธุรกิจและอีกเรื่องหนึ่งที่คนทำธุรกิจไม่สามารถมองข้ามไปได้เพราะนับว่าเป็นผลต่อการทำธุรกิจในระยะยาว กล่าวคือต้องรู้เพื่อไม่ให้พลาดและเป็นการทำตามกฎหมายที่ได้กำหนดนั่นคือการยื่นหนังสือบริคณห์สนธิ เอกสารสำคัญที่แสดงให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งบริษัทหรือธุรกิจนั้น ๆ ทั้งนี้ยังถือว่าเป็นการสร้างความไว้วางใจให้กับคู่ค้าหรือสร้างความน่าเชื่อถือได้อีกระดับ มาดูกันว่า“หนังสือบริคณห์สนธิ”คืออะไรมาทำความเข้าใจง่าย ๆ ในบทความนี้กันได้เลย
24292 ผู้เข้าชม
กรมสรรพากรเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการจัดเก็บภาษีสูงสุด เพราะรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้ที่มีฐานในการจัดเก็บจากรายได้ของประชาชนสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น จะใช้วิธีการชำระภาษีโดยคำนวณจากฐานกำไรสุทธิก่อนหักภาษี คูนด้วยอัตราภาษีร้อยละ 20 ซึ่งนิติบุคคลก่นที่จะชำระภาษี ต้องผ่านกระบวนการจัดทำงบการเงินโดยสำนักงานบัญชี ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นอย่างดีส่วนการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปัจจุบันนั้น ใช้การคำนวณจากฐานเงินได้สุทธิ โดยมีวิธีการจัดเก็บภาษีโดยใช้อัตราก้าวหน้าดังนั้นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจึงมีความสำคัญต่อระบบการจัดเก็บภาษีเป็นอย่างมาก เพราะมีผลต่อผู้มีเงินได้ทุกคนในวงกว้าง รวมไปถึง ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ทำความเข้าใจเรื่องการยื่นแบบแสคงรายการชำระภาษี มีบริการถามตอบอัตโนมัติทางโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตแล้ว แต่กฎหมายและข้อกำหนดต่างๆเกี่ยวกับภาษีอากร มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงทำให้การสื่อสารยังไม่ครบถ้วนและครอบคลุม เกิดความเข้าใจคาดเคลื่อน ส่งผลต่อการนำมาใช้วางแผนภาษีของประชาชน
2893 ผู้เข้าชม
เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับการประกอบธุรกิจที่ผู้ประกอบการทุกรายจะต้องทำบัญชี ไม่เพียงแต่เฉพาะทำรายการรับเงินเข้าหรือจ่ายเงินออกเพื่อให้ทราบผลกำไรขาดทุน งบดุล หรืองบกระแสเงินสดเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการต้องลงบัญชีให้ถูกต้อง ถูกวิธี และกฎหมาย เมื่อใดที่เจ้าหน้าที่สรรพากรเข้ามาตรวจสอบอย่างครบถ้วน ผู้ประกอบการจะทำบัญชีได้อย่างถูกต้องนั้นมีผู้เชี่ยวชาญทางบัญชีเคยบอกกล่าวไว้ว่า ในเบื้องต้นผู้ทำบัญชีจะต้องมีความรู้ในธุรกิจที่ทำให้ดีเสียก่อน นอกจากนี้ก็ต้องมีระบบบัญชี ที่ดี มีเอกสารการรับเงินจ่ายเงิน สต๊อคสินค้า ส่งสินค้าให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติการบัญชี พศ.2543 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ประมวลรัษฏากร เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมอยู่ตลอดสำหรับการเข้าตรวจสอบของสรรพากร
374 ผู้เข้าชม
ต้นทุนแฝง (Hidden cost) ถือเป็นภัยเงียบของการทำธุรกิจเลยก็ว่าได้ หลายบริษัทไม่ได้ให้ความสำคัญ หรือมีแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับต้นทุนแฝงที่จริงจังมากพอ รู้ตัวอีกทีก็ขาดทุนติดต่อกันหลายเดือนทีเดียว ในบทความนี้ Moneywecan จะพาผู้อ่านทุกท่าน ไปทำความรู้จักเกี่ยวกับต้นทุนแฝงกันให้มากขึ้นค่ะ
9492 ผู้เข้าชม
สินค้าค้างสต๊อก (Dead Stock) ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในการบริหารธุรกิจ เพราะเมื่อธุรกิจมีการสต๊อกสินค้า หมายถึง การมีต้นทุนหรือการที่ธุรกิจต้องจ่ายเงินออกไป เมื่อสินค้าขายไม่ออกกลายเป็นสินค้าคงค้างเป็นเวลานาน จากต้นทุนก็อาจกลายมาเป็นค่าใช้จ่ายเพราะไม่สามารถขายคืนทุนได้ การบริหาร หรือการจัดการสินค้าคงค้างให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญนั่นเอง
694 ผู้เข้าชม
ใบขอซื้อ (PR) เป็นเอกสารที่เป็นฉบับแรกสุดในบริษัทขนาดใหญ่ก่อนที่จะได้รับการอนุมัติเพื่อทำเอกสารใบสั่งซื้อ ส่วนใบสั่งซื้อ (PO) หรือ ใบเสนอราคา เอกสารใบสั่งซื้อนี้ สามารถใช้เป็นหลักฐานในการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี หากการสั่งซื้อนั้นเกิดความล่าช้ากว่ากำหนด หรือ มีข้อโต้แย้งที่ทำสินค้าให้เราไม่ได้อย่างที่ตกลงกันไว้
98286 ผู้เข้าชม
เลิกจ้างระหว่างทดลองงาน อยู่ดีๆ ก็โดนให้ออกในระหว่างทดลองงานมาได้ 1 เดือน ทางนายจ้างมาบอกว่าเดือนหน้าไม่ต้องมาทำงานแล้ว แบบนี้เราจะได้ค่าชดเชยหรือไม่?
71825 ผู้เข้าชม
โดนลดเงินเดือน เป็นปัญหาที่ของคนทำงานหลายคนที่กำลังเผชิญอยู่ ด้วยสาเหตุที่เกิดจากผลกระทบของโควิด ส่งผลทำให้ธุรกิจของบริษัท หรือ ของนายจ้าง ได้รับผลกระทบในเรื่องของรายได้ เมื่อรายได้ ไม่ได้มาตามที่คาดหวัง บริษัทก็จำเป็นต้องบริหารจัดการค่าใช้จ่าย ทางเลือกที่มักจะใช้เป็นอันดับแรกๆ ก็คือ การลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับเรื่องคน ซึ่ง การขอลดเงินเดือนก็เป็นหนึ่งในวิธีการลดภาระค่าใช้จ่ายของบริษัทในภาวะที่ต้องเจอกับปัญหาทางธุรกิจ
8029 ผู้เข้าชม
ลาป่วยบ่อย หัวหน้าเขา ก็เอาเรื่องนี้ไปเป็นเหตุผลในการเลิกจ้างเรา เขาทำแบบนี้ได้ด้วยเหรอ และถือเป็นการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่?
23350 ผู้เข้าชม
ในยุคที่กรมสรรพากร ได้มีการบริหารภายใต้นโยบายปรับเปลี่ยนองค์กรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บภาษีและยกระดับการให้บริการด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกมาใช้ในการบริหารการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรทุกกระบวนงาน หรือที่เรียกว่า “RD Digital Government – Data Analytics” และนำมาสู่แนวคิดเรื่อง “บัญชีเดียว” ของผู้ประกอบธุรกิจ ส่งผลให้มีการกล่าวถึง “นักบัญชีภาษีอากร” ซึ่งจะเป็นผู้ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการเสียภาษีได้ถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น
699 ผู้เข้าชม
41511 ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์