ต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่

ต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่


ต้นทุนผันแปร 
และต้นทุนคงที่คำว่า “คงที่” (Fixed) และ “ผันแปร” (Variable) ใช้เพื่ออธิบายว่าต้นทุนจะผันแปรไปอย่างไร เมื่อกิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปต้นทุนผันแปร  เป็นต้นทุนซึ่งมีจำนวนรวมที่ผันแปรไปเป็นสัดส่วนโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรม ปริมาณกิจกรรมดังกล่าวได้แก่ หน่วยของสินค้าที่ผลิตขาย ชั่วโมงแรงงาน ชั่วโมงเครื่องจักร ตัวอย่างของต้นทุนผันแปร ได้แก่ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง วัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น

ต้นทุนคงที่  เป็นต้นทุนซึ่งจำนวนรวมจะไม่เปลี่ยนแปลงไปกับการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิตภายในช่วงที่พิจารณา หรือไม่ว่าปริมาณกิจกรรมจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ต้นทุนคงที่รวมจะไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เงินเดือนผู้ควบคุมตรวจตราโรงงาน ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ค่าประกันภัยโรงงานเครื่องจักร ภาษีและค่าเช่า  ต้นทุนกึ่งผันแปร  คือ ต้นทุนที่มีลักษณะผสมทั้งที่เป็นต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร นั่นคือ จำนวนรวมของต้นทุนจะเปลี่ยนแปลงตามปริมาณของกิจกรรม แต่ไม่ได้แปรไปในอัตราส่วนโดยตรงกับปริมาณกิจกรรม เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าเบี้ยประกันภัย ค่ากำลังไฟ ค่าตรวจสอบคุณภาพสินค้า เป็นต้นต้นทุนแผนกผลิต  แผนกผลิตเป็นแผนกที่ทำการแปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปโดยใช้แรงงานคนหรือเครื่องจักรา ต้นทุนของแผนกผลิตจะถือเป็นต้นทุนของผลิตภัณฑ์เพราะเกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรง เช่น แผนกตัด แผนกประกอบ แผนกตกแต่ง เป็นต้น

ต้นทุนแผนกบริการ  แผนกบริการเป็นแผนกที่ไม่ได้ผลิตสินค้าโดยตรงแต่ให้บริการแก่แผนกอื่นทั้งที่เป็นแผนกผลิตและแผนกบริการด้วยกัน เช่น แผนกบำรุงรักษา แผนกบุคคล แผนกบัญชี ฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

ต้นทุนผลิตภัณฑ์  หมายถึงต้นทุนที่เป็นตัวสินค้า ในกิจการอุตสาหกรรมต้นทุนผลิตภัณฑ์ก็คือผลรวมของต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต ส่วนในกิจการซื้อมาขายไป ต้นทุนผลิตภัณฑ์ก็ คือ ค่าซื้อสินค้า

ต้นทุนประจำงวด  เป็นต้นทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือไม่ได้ติดตามสินค้าที่ผลิต แต่เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารและค่าใช้จ่ายในการขายซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่จะต้องนำไปหักจากยอดขายในงวดบัญชีปัจจุบันต้นทุนที่จำแนกตามส่วนประกอบของสินค้าสำเร็จรูป  หรือที่เรียกว่า ต้นทุนการผลิต ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนค่าแรงงาน และต้นทุนค่าใช้จ่ายการผลิตส่วนประกอบของต้นทุนการผลิต

1. วัตถุดิบทางตรง หมายถึง วัตถุดิบที่ถูกใช้โดยตรงในการผลิต และแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์หรือสินค้าสำเร็จรูป และจะเป็นส่วนประกอบสำคัญสามารถคิดเข้าตัวผลิตภัณฑ์ได้ หรือสามารถบอกได้แน่ชัดว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีต้นทุนวัตถุดิบเท่าใด เช่น ผ้าที่ใช้ในการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป หนังสัตว์ที่ใช้ในการผลิตกระเป๋า เป็นต้น

2. ค่าแรงงานทางตรง หมายถึง ค่าแรงงานที่จ่ายให้แก่คนงานที่ทำการผลิตโดยตรง และ

สามารถบอกได้ชัดเจนว่าในผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้น ๆ มีต้นทุนค่าแรงงานทางตรงเท่าใด

3. ค่าใช้จ่ายการผลิต ซึ่งอาจเรียกว่าโสหุ้ยการผลิต หรือค่าใช้จ่ายโรงงาน หมายถึง ต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นในโรงงานนอกเหนือจากวัตถุดิบทางตรง และค่าแรงงานทางตรง

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!



ขอบคุณบทความจาก :: https://sites.google.com 

 6460
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์