การบัญชีเกี่ยวกับค่าแรง

การบัญชีเกี่ยวกับค่าแรง


ค่าแรงงาน หมายถึง ค่าจ้าง (Wages) และเงินเดือน (Salaries) ที่กิจการจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ในการจ่ายค่าจ้างอาจจ่ายเป็นรายชั่วโมง (Hourly) รายวัน (Daily) หรือตามหน่วยที่ผลิตได้ (Piecework) ส่วนเงินเดือนมักจะจ่ายเดือนละครั้ง

ลักษณะของค่าแรงงาน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1. ค่าแรงงานทางตรง

2. ค่าแรงงานทางอ้อม

สำหรับขั้นตอนเกี่ยวกับค่าแรงงานนั้น จะแยกอธิบายเป็น 2 แผนก คือ

แผนกบุคคล (Personal Department) มีหน้าที่เก็บเวลาการทำงาน กำหนดอัตราค่าจ้างของพนักงาน นอกจากนี้แผนกบุคคลยังมีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของพนักงาน รวบรวมเวลาทำงานของพนักงานในแต่ละวัน เช่น

ใช้เครื่องบันทึกเวลา หรือนาฬิกาบันทึกเวลา โดยจัดวางไว้ตรงทางเข้าของพนักงาน และให้พนักงานนำบัตรลงเวลาประจำตัวสอดเข้าไปในเครื่องเพื่อบันทึกเวลาการทำงานก่อนที่จะเข้าไปปฏิบัติงาน

ใช้สมุดลงเวลา เหมาะสำหรับกิจการที่จ่ายค่าจ้างเป็นเงินเดือนประจำ

ใช้ทั้งเครื่องบันทึกเวลา และสมุดลงเวลา เช่น เมื่อพนักงานเข้ามาถึงทางเข้าของบริษัท ก็จะสอดบัตรลงเวลาประจำตัวที่เรียงไว้ตามชั้นใกล้ๆเครื่องบันทึกเวลาโดยมีชื่อพนักงานและรหัสประจำตัวติดอยู่ตามชั้นวางเข้าไปในเครื่องเพื่อบันทึกเวลาการทำงาน เมื่อพนักงานเข้าไปในแผนกทำงานของตน จะลงเวลาที่สมุดลงเวลาอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อแผนกบุคคลรวบรวมเวลาการทำงานของพนักงานแต่ละคนเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำส่งรายงานการปฏิบัติงานให้แก่แผนกบัญชีต่อไป

แผนกบัญชี (Accounting Department) มีหน้าที่ในการคำนวณ จำแนก และบันทึก

บัญชีค่าแรงงาน โดยนำข้อมูลจากแผนกบุคคลมาบันทึกรายการบัญชี และจัดทำรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งหน้าที่ออกเป็น 3 ฝ่าย ดังนี้

ฝ่ายบัญชีเงินเดือนและค่าแรง

เมื่อได้รับรายงานการปฏิบัติงานจากแผนกบุคคลแล้วจะคำนวณค่าจ้าง ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เงินประกันสังคม รายการอื่นๆ รวมทั้งบันทึกรายการและจำนวนเงินต่างๆ ลงในสมุดเงินเดือนและค่าแรงแล้วผ่านรายการจากสมุดเงินเดือนและค่าแรงไปยังบัญชีเงินได้ของพนักงานแต่ละคน นอกจากนี้ยังส่งสมุดเงินเดือนและค่าแรงให้แก่ฝ่ายบัญชีเจ้าหนี้ด้วย

ฝ่ายบัญชีเจ้าหนี้

เมื่อได้รับสมุดเงินเดือนและค่าแรงจากฝ่ายบัญชีเงินเดือนและค่าแรงแล้ว จะทำใบสำคัญจ่ายขึ้น 2 ฉบับ คือ

ใบที่ 1 นำส่งให้ฝ่ายการเงินพร้อมสมุดเงินเดือนและค่าแรงเพื่อรอจ่ายเงิน

ใบที่ 2 สำหรับเก็บเข้าแฟ้มไว้ที่แผนกของตน

ฝ่ายบัญชีต้นทุน

เมื่อได้รับรายงานจากแผนกบุคคลก็จะทำการแยกค่าแรงแต่ละประเภทของกระบวนการผลิตเพื่อคำนวณต้นทุนการผลิต

สำหรับการคำนวณค่าแรง จะแยกการคำนวณเป็น 2 ขั้นตอน คือ

ค่าแรงงานขั้นต้น (Gross payrolls)

เมื่อพนักงานบัญชีรวบรวมค่าแรงงานของพนักงานจากบัตรลงเวลาทำงานก็จะทำการคำนวณ

ค่าแรงงานต่างๆ ซึ่งพิจารณาจากชั่วโมงการทำงาน หรือตามชิ้นงาน การคำนวณค่าแรงงานดังกล่าวจะประกอบด้วยค่าแรงงานปกติ และค่าแรงงานล่วงเวลา

ค่าแรงงานปกติ มีสูตรในการคำนวณ ดังนี้

คำนวณค่าแรงตามชั่วโมงการทำงาน

ค่าแรงงานปกติ = จำนวนชั่วโมงการทำงาน X อัตราค่าแรงงานรายชั่วโมง

คำนวณค่าแรงตามชิ้นงาน

ค่าแรงงานปกติ = จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ X อัตราค่าแรงงานตามชิ้นงาน

ตัวอย่างที่ 1 นายมานพ ทำงานกับโรงงานแห่งหนึ่ง มีช่วงทำงานปกติ คือ 08.00 – 17.00 หยุดวันเสาร์และอาทิตย์ โดยได้รับค่าจ้างเป็นรายชั่วโมงปกติชั่วโมงละ 50 บาท ชั่วโมงการทำงานของนายมานพในสัปดาห์นี้เป็นดังนี้

วัน จำนวนชั่วโมงการทำงาน

จันทร์ 8

พุธ 2

พฤหัสบดี 8

ศุกร์ 5

รวมชั่วโมงการทำงาน 23 ดังนั้นค่าแรงปกติเท่ากับ 23 X 50 = 1,150 บาท

ค่าแรงงานล่วงเวลา

ค่าแรงงานล่วงเวลาเกิดจากการที่พนักงานทำงานเกินชั่วโมงทำงานปกติซึ่งตพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.. 2541 ได้บัญญัติเกี่ยวกับชั่วโมงทำงานปกติของกิจการอุตสาหกรรมว่า นายจ้างจะต้องกำหนดชั่วโมงการทำงานปกติไว้เท่าใดก็ได้แต่ต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง ซึ่งในแต่ละกิจการจะกำหนดชั่วโมงการทำงานปกติไม่เท่ากัน

1. อัตราค่าแรงงานล่วงเวลาในวันทำการปกติ เป็นการทำงานในช่วงเวลาเกินกว่า

ช่วงเวลาปกติของเวลาทำการ เช่น เวลาทำการปกติคือ วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 08.00 – 17.00 แต่หากพนักงานทำงานในวันดังกล่าวตั้งแต่ 08.00 - 20.00 ช่วงเวลาหลังจาก 17.00 ถือเป็นค่าแรงล่วงเวลาในวันทำงานปกติ เวลาส่วนที่เกินดังกล่าวนายจ้างต้องจ่าย ค่าแรงให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของค่าแรงงานในอัตราปกติ

2. อัตราค่าแรงงานล่วงเวลาในวันหยุด แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

2.1 ทำงานล่วงเวลาในวันหยุดซึ่งอยู่ในช่วงเวลาทำการปกติ เช่น เวลาทำการปกติ คือ วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา08.00 – 17.00 แต่หากพนักงานทำงานในวันเสาร์ หรืออาทิตย์ ในช่วงเวลา 08.00 – 17.00 ช่วงเวลาดังกล่าวถือเป็นค่าแรงล่วงเวลาในวันหยุดซึ่งอยู่ในช่วงเวลาปกติ นายจ้างต้องจ่ายค่าแรงให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่า 2 เท่าของค่าแรงงานในอัตราปกติ

2.2 ทำงานล่วงเวลาในวันหยุดซึ่งอยู่ในช่วงเกินกว่าเวลาทำการปกติ เช่น เวลาทำการปกติ คือ วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 08.00 – 17.00 แต่ทำงานในวันเสาร์ หรืออาทิตย์ ในช่ว

เวลาหลัง 17.00 ช่วงเวลาดังกล่าวถือเป็นค่าแรงล่วงเวลาในวันหยุดซึ่งเกินกว่าช่วงเวลาทำการปกตินายจ้างต้องจ่ายค่าแรงให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่า 3 เท่าของค่าแรงงานในอัตราปกติ

ตัวอย่างที่ 2 บริษัท เควิน จำกัด ได้กำหนดเวลาทำงานปกติของพนักงาน คือ ทำงานตั้งแต่วันจันทร์ ถึง วันเสาร์ ช่วงเวลา 08.00 – 17.00 . (พักเที่ยง 1 ..) ดังนั้นเวลาทำการปกติเท่ากับวันละ 8 ชั่วโมงๆละ 20 บาท นายปิยะซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายผลิตของบริษัทได้ทำงานประจำสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ดังนี้

วันทำงาน เวลาทำงาน ชั่วโมงทำงาน

จันทร์ 09.00 – 17.00 7 อังคาร 08.00 – 20.00 11

พุธ 08.00 – 21.00 12

พฤหัสบดี 08.00 – 21.00 12

ศุกร์ 08.00 – 21.00 12

เสาร์ 08.00 – 21.00 12

อาทิตย์ 08.00 – 23.00 14

การคำนวณค่าแรงขั้นต้นของนายปิยะ เป็นดังนี้

วันทำงาน

ชั่วโมงการทำงาน

ชั่วโมงทำงานล่วงเวลาในวันทำการปกติ

เท่าครึ่ง

ชั่วโมงทำงานล่วงเวลาในวันหยุดซึ่งอยู่ในช่วงเวลาทำการปกติ

เท่า

ชั่วโมงทำงานล่วงเวลาในวันหยุดซึ่งอยู่ในช่วงเกินกว่าเวลาทำการปกติ

เท่า

จันทร์

7

-

-

-

อังคาร

8

3

-

-

พุธ

8

4

-

-

พฤหัสบดี

8

4

-

-

ศุกร์

8

4

-

-

เสาร์

8

4

-

-

อาทิตย์

-

-

8

6

รวม

47

19

8

6

ตารางที่ 2.4 แสดงการคำนวณค่าแรงขั้นต้น

ค่าแรงงานปกติ (47 X 20) 940 บาท

ค่าแรงงานล่วงเวลาในวันทำการปกติ (19 X 20 X 1.5) 570 บาท

ค่าแรงงานล่วงเวลาในวันหยุดซึ่งอยู่ในช่วงเวลาทำการปกติ (8 X 20 X 2) 320 บาท

ค่าแรงงานล่วงเวลาในวันหยุดซึ่งอยู่ในช่วงเกินกว่าเวลาทำการปกติ (6 X 20 X 3) 360 บาท

รวมค่าแรงงานขั้นต้น 2,190 บาท

ค่าแรงงานสุทธิ (Net Payrolls)

การคำนวณค่าแรงงานของพนักงาน ไม่ว่าจะจ่ายตามชั่วโมงการทำงาน รายชิ้นงานที่ผลิต หรือเงินเดือน นายจ้างจำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย จากค่าจ้างที่จ่ายให้แก่พนักงานเพื่อนำส่งกรมสรรพากร ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายของลูกจ้างแต่ละคนจะมีจำนวนที่แตกต่างกันไปตามจำนวนรายได้ สถานภาพ และกิจกรรมต่างๆที่จะได้รับสิทธิ เช่น คู่สมรส บุตร บุพการี ประกันชีวิต กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันสังคม เงินบริจาค เป็นต้น ดังนั้นค่าแรงงานสุทธิ คือ ค่าแรงงานขั้นต้น หัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายเงินประกันสังคม ฯลฯ

การบันทึกบัญชี เป็นดังนี้

เดบิต ค่าแรงงาน XX

เครดิต ค่าแรงงานค้างจ่าย XX

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย XX

ประกันสังคมค้างจ่าย XX

(บันทึกค่าแรงงาน)

-----------------------------------------------------------

เดบิต งานระหว่างผลิต(ตรง) XX

ค่าใช้จ่ายการผลิต(อ้อม) XX

เครดิต ค่าแรงงาน XX

(จำแนกค่าแรงงาน)

-----------------------------------------------------------

เดบิต ค่าแรงงานค้างจ่าย XX

เครดิต เงินสด XX

(จ่ายค่าแรงงาน)

-----------------------------------------------------------

เดบิต ภาษีหัก ณ ที่จ่าย XX

เครดิต เงินสด XX

(จ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย)

-----------------------------------------------------------

เดบิต ประกันสังคมค้างจ่าย XX

ประกันสังคม XX

เครดิต เงินสด XX

(จ่ายเงินประกันสังคม)

ตัวอย่างที่ 3 บริษัท บางนาตกแต่ง จำกัด ได้ทำการสรุปจำนวนเงินเดือน และค่าแรงงานของพนักงานในแผนกตกแต่ง สิ้นหรับสิ้นสุด 31 ธันวาคม 25 X 1 ดังนี้

ชื่อ – สกุล

ตำแหน่ง

อัตราเงินเดือนและค่าแรง

จำนวนชั่วโมงการทำงาน

นายมาโนช สีเหลือง

หัวหน้าแผนก

30,000

-

นายมานะ สีน้ำเงิน

คนงาน

100 บาท/..

45

นางมานี สีแดง

คนงาน

100 บาท/..

48

นายมานั่น สีเขียว

คนงาน

100 บาท/..

40

ตารางที่ 2.5 แสดงการทำสรุปเงินเดือนและค่าแรง

จากข้อมูลข้างต้นสามารถนำมาจำแนกเป็นชั่วโมงการทำงานปกติ และชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาได้ดังนี้

 

ชื่อ – สกุล

จำนวนชั่วโมงการทำงานปกติ

จำนวนชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา(ปกติ) 1 เท่าครึ่ง

จำนวนชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา(วันหยุด) 2 เท่า

นายมาโนช สีเหลือง

-

-

-

นายมานะ สีน้ำเงิน

40

2

3

นางมานี สีแดง

40

6

2

นายมานั่น สีเขียว

40

-

-

ตารางที่ 2.5 แสดงการจำแนกชั่วโมงทำงานปกติและชั่วโมงทำงานล่วงเวลา

ข้อมูลเพิ่มเติม : 1. อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% ของค่าแรงงานทั้งหมด

2. อัตราประกันสังคม 5% ของค่าแรงงานปกติ

ค่าล่วงเวลาดังกล่าวเกิดจากไฟฟ้าดับ ทำให้พนักงานต้องทำงานล่วงเวลาเพิ่มเติม

งานระหว่างผลิต ค่าใช้จ่ายการผลิต

นายมาโนช - 30,000

นายมานะ 4,000(40 x 100) -

200(2 x 100 x 1) 100(2 x 100 x 0.5)

300(3 x 100 x 1) 300(3 x 100 x 1)

นางมานี 4,000(40 x 100) -

600(6 x 100 x  1) 300(6 x 100 x 0.5)

200(2 x 100 x 1) 200(2 x 100 x 1)

นายมานั่น 4,000(40 x 100) -

13,300 30,900

ใบบันทึกการจ่ายค่าแรง(แสดงการคำนวณ)

การบันทึกบัญชี เป็นดังนี้

เมื่อบันทึกค่าแรงงาน

เดบิต ค่าแรงงาน 44,200

เครดิต ค่าแรงงานค้างจ่าย 38,430

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย 4,420

เงินประกันสังคมค้างจ่าย 1,350

เมื่อจำแนกค่าแรงงาน

เดบิต งานระหว่างผลิต(ทางตรง) 13,300

ค่าใช้จ่ายการผลิต(ทางอ้อม) 30,900

เครดิต ค่าแรงงาน 44,200

เมื่อจ่ายค่าแรงงาน

เดบิต ค่าแรงงานค้างจ่าย 38,430

เครดิต เงินสด 38,430

การจ่ายค่าแรงงานในลักษณะอื่นๆ

1. ค่าแรงงานล่วงเวลา (Overtime)

ค่าแรงงานล่วงเวลาที่ต้องจ่าย ซึ่งเป็นไปตามแผนงานที่ได้กำหนดขึ้นไว้ล่วงหน้า

จัดเป็น“งานระหว่างผลิต”

ตัวอย่างที่ 4 บริษัท สมประสงค์ จำกัด มีพนักงาน 5 คน ในแต่ละสัปดาห์  

พนักงานแต่ละคนจะทำงานตามเวลาปกติวันละ 8 ชั่วโมง อัตราค่าแรงชั่วโมงละ 

80 บาท นอกจากนี้พนักงานแต่ละคนจะทำงานล่วงเวลาอีกวันละ 3 ชั่วโมง อัตรา

ค่าแรงงานชั่วโมงละ 120 บาท(ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% และเงินประกันสังคม 

5%ของค่าแรงงานปกติ)

ค่าแรงงานขั้นต้น = (5 x 8 x 80) + (5 x 3 x 120)

= 3,200 + 1,800

= 5,000 บาท

ค่าแรงงานสุทธิ = 5,000 – (5,000 x 10%) – (3,200 x 5%)

= 4,340 บาท

การบันทึกค่าแรงงาน

เดบิต ค่าแรงงาน 5,000

เครดิต ค่าแรงงานค้างจ่าย 4,340

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 500

เงินประกันสังคมค้างจ่าย 160

บันทึกจำแนกค่าแรงงาน

เดบิต งานระหว่างผลิต 5,000

เครดิต ค่าแรงงาน 5,000

ค่าแรงงานล่วงเวลาที่ต้องจ่าย ซึ่งไม่เป็นไปตามแผนที่ได้กำหนดขึ้นล่วงหน้า เช่น 

เครื่องจักรเสีย ขาดวัตถุดิบในการผลิตอย่างต่อเนื่อง ค่าแรงล่วงเวลาดังกล่าวจัด

เป็น “ค่าใช้จ่ายการผลิต”

 

ตัวอย่างที่ 5 บริษัท สมศักดิ์ จำกัด จ้างพนักงานทำการผลิตอัตราค่าจ้างชั่วโมง

ละ 70 บาท ในสัปดาห์นี้ผู้จัดการโรงงานได้กำหนดให้พนักงานทำงานล่วงเวลา

จำนวน 6 คนๆละ 4 ชั่วโมงเนื่องจากเมื่อต้นสัปดาห์บริษัทประสบปัญหาขาด

วัตถุดิบในการผลิต พนักงานจำนวน 6 คนดังกล่าวได้ทำงานในชั่วโมงปกติไปแล้ว 

200 ชั่วโมง (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% และเงินประกันสังคม 5%ของค่าแรงงาน

ปกติ)

ค่าแรงงานขั้นต้น = (200 x 70) + (6 x 4 x 105*)

= 14,000 + 2,520

= 16,520 บาท

* 70 x 1.5 = 105

ค่าแรงงานสุทธิ : = 16,520 – (16,520 x 10%) – (14,000 x 5%)

= 14,168 บาท

การบันทึกค่าแรงงาน

เดบิต ค่าแรงงาน 16,520

เครดิต ค่าแรงงานค้างจ่าย 14,168

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 1,652

เงินประกันสังคมค้างจ่าย 700

บันทึกจำแนกค่าแรงงาน

เดบิต งานระหว่างผลิต(200+24)x(70 x 1) 15,680

ค่าใช้จ่ายการผลิต 24 x(70 x 0.5) 840

เครดิต ค่าแรงงาน 16,520

2. เงินโบนัสให้แก่พนักงาน(Bonus) จัดเป็น “ค่าใช้จ่ายการผลิต”

ตัวอย่างที่ 6 บริษัท อารมณ์ จำกัดได้ประมาณเงินโบนัสให้แก่พนักงานตอนสิ้นปี 25 X1 เท่ากับ 300,000 บาท และในเดือนมกราคมนี้บริษัทจะต้องจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานทั้งสิ้นเป็นเงิน 100,000 บาท(ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% และเงินประกันสังคม 5%ของค่าแรงงานปกติ)

การบันทึกค่าแรงงาน

เดบิต ค่าแรงงาน 100,000

เครดิต ค่าแรงงานค้างจ่าย 85,000

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10,000

เงินประกันสังคมค้างจ่าย 5,000

บันทึกจำแนกค่าแรงงาน

เดบิต งานระหว่างผลิต 100,000

ค่าใช้จ่ายการผลิต() 25,000

เครดิต ค่าแรงงาน 100,000

เงินสำรองโบนัสแก่พนักงาน 25,000

บันทึกล้างเงินสำรองโบนัสแก่พนักงาน

เดบิต เงินสำรองโบนัสแก่พนักงาน 300,000

เครดิต เงินสด 300,000

3. วันหยุดพักผ่อนประจำปี(Vacation Pay) จัดเป็น “ค่าใช้จ่ายการผลิต”

ตัวอย่างที่ 7 บริษัท จารีต จำกัด จ่ายค่าแรงงานให้กับพนักงานคนหนึ่งเดือนละ 14,000 บาท และให้พนักงานดังกล่าวได้มีสิทธิหยุดลาพักร้อนปีละ 9 วัน(ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% และเงินประกันสังคม 5%ของค่าแรงงานปกติกำหนดให้ 1ปีมี 365 วัน

การบันทึกค่าแรงงาน

เดบิต ค่าแรงงาน 14,000

เครดิต ค่าแรงงานค้างจ่าย 11,900

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 1,400

เงินประกันสังคมค้างจ่าย 700

บันทึกจำแนกค่าแรงงาน

เดบิต งานระหว่างผลิต 14,000

ค่าใช้จ่ายการผลิต(14,000 x ) 345.21

เครดิต ค่าแรงงาน 14,000

เงินสำรองหยุดพักผ่อนแก่พนักงาน 345.21

ตัวอย่างที่ 8 จากตัวอย่างที่ 7 หากสมมุติว่าพนักงานดังกล่าวขอใช้สิทธิลาหยุด 1 วันในเดือนมีนาคม การลงบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการจ่ายค่าแรงงานในเดือนมีนาคมจะเป็นดังนี้

การบันทึกค่าแรงงาน

เดบิต ค่าแรงงาน 14,000

เครดิต ค่าแรงงานค้างจ่าย 11,900

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 1,400

เงินประกันสังคมค้างจ่าย 700

บันทึกจำแนกค่าแรงงาน

เดบิต งานระหว่างผลิต 13,539.72

ค่าใช้จ่ายการผลิต(14,000 x ) 345.21

เงินสำรองหยุดพักผ่อนแก่พนักงาน 115.07*

เครดิต ค่าแรงงาน 14,000

* 345.21 x 12 = 4,142.52 บาท

= 460.28 บาท

460.28 – 345.21 = 115.07 บาท

เหตุผลที่งานระหว่างผลิตลดลงในเดือนที่พนักงานลาหยุด เพราะพนักงานทำงานไม่เต็มเดือน

 

4. สวัสดิการต่างๆ (Welfare) เช่น ค่าอาหารกลางวันค่ารักษาพยาบาล,ค่าจ้างรถรับส่งจัดเป็น“ค่าใช้จ่ายการผลิต”

ตัวอย่างที่ 9 บริษัท บึงกุ่ม จำกัด มีสวัสดิการที่ให้แก่พนักงานฝ่ายผลิตประจำเดือนตุลาคม 25x1 คือ

ค่าเช่ารถจำนวน 120,000 บาท และค่าอาหารกลางวัน 50,000 บาท

การบันทึกค่าแรงงาน

เดบิต ค่าใช้จ่ายการผลิต 170,000

เครดิต เงินสด 170,000

5. เงินชดเชยเมื่อออกจากงาน(Severance Pay) จัดเป็น “ค่าใช้จ่ายการผลิต”

ตัวอย่างที่ 10 บริษัท สุริยา จำกัด จ่ายค่าแรงงานโดยเฉลี่ยต่อเดือนๆละ 250,000 บาท และกิจการมีนโยบายให้เงินชดเชยแก่พนักงานเมื่อออกจากงานโดยจะเก็บเดือนละ 5% (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% และเงินประกันสังคม 5%ของค่าแรงงานปกติ)

        บันทึกจำแนกค่าแรงงาน

เดบิต ค่าแรงงาน 250,000

เครดิต ค่าแรงงานค้างจ่าย 212,500

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 25,000

ประกันสังคมค้างจ่าย 12,500

บันทึกจำแนกค่าแรงงาน

เดบิต งานระหว่างผลิต 250,000

ค่าใช้จ่ายการผลิต(250,000 x 5%) 12,500

เครดิต ค่าแรงงาน 250,000

เงินสำรองพนักงานออกจากงาน 12,500

บันทึกจ่ายเงินชดเชยเมื่อพนักงานออกจากงาน(สมมุติจ่าย 400,000 บาท)

เดบิต เงินสำรองพนักงานออกจากงาน 400,000

เครดิต เงินสด 400,000

 

สรุปการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงาน

รายการ

การบันทึกบัญชี

บันทึกค่าแรงงาน

เดบิต ค่าแรงงาน XX

เครดิต ค่าแรงงานค้างจ่าย XX

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย XX

ประกันสังคมค้างจ่าย XX

บันทึกจำแนกค่าแรงงาน

เดบิต งานระหว่างผลิต(ตรง) XX

ค่าใช้จ่ายการผลิต(อ้อม) XX

เครดิต ค่าแรงงาน XX

บันทึกจ่ายค่าแรงงานเป็นเงินสด

เดบิต ค่าแรงงานค้างจ่าย XX

เครดิต เงินสด XX

บันทึกจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นเงินสด

เดบิต ภาษีหัก ณ ที่จ่าย XX

เครดิต เงินสด XX

บันทึกจ่ายเงินประกันสังคมเป็นเงินสด

เดบิต ประกันสังคมค้างจ่าย XX

ประกันสังคม XX

เครดิต เงินสด XX

ตารางที่ 2.6 สรุปการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงาน

 1191
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์