กฎหมายแรงงานว่าด้วยเรื่อง ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดที่ HR ควรรู้

กฎหมายแรงงานว่าด้วยเรื่อง ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดที่ HR ควรรู้



สำหรับงานที่จำเป็นต้องทำต่อเนื่องเพราะอาจทำให้เสียหายต่อนายจ้าง หรืองานฉุกเฉิน  นายจ้างสามารถจัดให้ลูกจ้างทำค่าล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดเท่าที่จำเป็นได้ และในกรณีที่การทำงานล่วงเวลามากกว่าสองชั่วโมง นายจ้างจะต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักอย่างน้อยยี่สิบนาที แต่ถ้าหากเป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่องหรืองานฉุกเฉินก็สามารถทำต่อไปได้ โดยต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

ค่าตอบแทนกรณีทำล่วงเวลาในวันทำงานปกติ

กรณีพนักงานทำงานเกินกว่าชั่วโมงงานปกติของวันทำงาน เช่น เวลางานปกติกำหนดให้พนักงานมาทำงานเวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. แต่พนักงานอาจจำเป็นต้องทำงานให้แล้วเสร็จจึงทำงานจนถึงเวลา 20.00 น. ลักษณะแบบนี้ก็เข้าข่ายที่นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมงให้กับพนักงานครับ

ตัวอย่างการคำนวณค่าล่วงเวลาในวันทำงานปกติกรณีพนักงานรายเดือน

นาย ก. ได้รับค่าจ้าง  10,000 บาทต่อเดือน ทำค่าล่วงเวลาหลังเลิกงานในวันทำงานจำนวน 3 ชั่วโมง

สูตรการคำนวณ    = (ค่าจ้างต่อเดือน หาร สามสิบ หาร ชั่วโมงงานปกติ) คูณ 1.5เท่า คูณ จำนวนชั่วโมงที่ทำโอที

วิธีการคำนวณ      =(10,000 / 30 / 8)*1.5*3

สรุป นาย ก. ได้รับเงินค่าล่วงเวลาหลังเลิกงานในวันทำงานจำนวน 187.50 บาท

ตัวอย่างการคำนวณค่าล่วงเวลาในวันทำงานปกติกรณีพนักงานรายวัน

นาย ข. ค่าจ้าง  350 บาทต่อวัน ทำค่าล่วงเวลาหลังเลิกงานในวันทำงานจำนวน 3 ชั่วโมง

สูตรการคำนวณ    = (ค่าจ้างต่อวัน หาร ชั่วโมงงานปกติ) คูณ 1.5 เท่า คูณ ชั่วโมงที่ทำโอที

วิธีการคำนวณ      =(350 / 8)*1.5*3

สรุป นาย ข. ได้รับเงินค่าล่วงเวลาหลังเลิกงานในวันทำงานจำนวน 196.87 บาท

ค่าตอบแทนกรณีทำล่วงเวลาในวันหยุด

กรณีพนักงานทำงานเกินกว่าชั่วโมงงานปกติในวันหยุด เช่น เวลางานปกติในวันหยุดกำหนดให้พนักงานมาทำงานเวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. แต่พนักงานอาจจำเป็นต้องทำงานให้แล้วเสร็จจึงทำงานจนถึงเวลา 20.00 น. ลักษณะแบบนี้ก็เข้าข่ายที่นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา 3 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมงให้กับพนักงานครับ(วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เป็นต้น)

ตัวอย่างการคำนวณค่าล่วงเวลาในวันหยุดกรณีพนักงานรายเดือน

นาย ก. ค่าจ้าง  10,000 บาทต่อเดือน ทำล่วงเวลาหลังเลิกงานในวันหยุดจำนวน 3 ชั่วโมง

สูตรการคำนวณ    = (ค่าจ้างต่อเดือน หาร สามสิบ หาร ชั่วโมงงานปกติ) คูณ 3 เท่า คูณ ชั่วโมงที่ทำโอที

วิธีการคำนวณ      =(10,000 / 30 / 8)*3*3

สรุปนาย ก. ได้รับเงินค่าล่วงเวลาในวันหยุดจำนวน 375 บาท

ตัวอย่างการคำนวณค่าล่วงเวลาในวันหยุดกรณีพนักงานรายวัน

นาย ข. ค่าจ้าง  350 บาทต่อวัน ทำล่วงเวลาหลังเลิกงานในวันหยุดจำนวน 3 ชั่วโมง

สูตรการคำนวณ    = (ค่าจ้างต่อวัน หาร ชั่วโมงงานปกติ) คูณ 3 เท่า คูณ ชั่วโมงที่ทำโอที

วิธีการคำนวณ      =(350 / 8)*3*3

สรุป นาย ข. ได้รับเงินค่าล่วงเวลาในวันหยุดจำนวน 393.75 บาท

ค่าตอบแทนกรณีทำงานในวันหยุด

กรณีพนักงานมาทำงานตามเวลางานปกติในวันหยุด เช่น เวลางานปกติในวันหยุดกำหนดให้พนักงานมาทำงานเวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. กรณีเช่นนี้พนักงานมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด (วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เป็นต้น) โดยอัตราการจ่ายค่าทำงานในวันหยุดแบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้

1. สำหรับลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด เช่น พนักงานรายเดือน จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 เท่า

2. สำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด เช่น พนักงานรายวัน จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า

ตัวอย่างการคำนวณค่าทำงานในวันหยุดกรณีพนักงานรายเดือน

นาย ก. ค่าจ้าง  10,000 บาทต่อเดือน ทำงานตามเวลางานปกติในวันหยุดจำนวน 8 ชั่วโมง

สูตรการคำนวณ    = (ค่าจ้างต่อเดือน หาร สามสิบ หาร ชั่วโมงงานปกติ) คูณ 1 เท่า คูณ ชั่วโมงที่ทำโอที

วิธีการคำนวณ      =(10,000 / 30 / 8)*1*8

สรุปนาย ก. ได้รับเงินค่าทำงานในวันหยุดจำนวน 333.33 บาท

ตัวอย่างการคำนวณค่าทำงานในวันหยุดกรณีพนักงานรายวัน

นาย ข. ค่าจ้าง  350 บาทต่อวัน ทำงานตามเวลางานปกติในวันหยุดจำนวน 8 ชั่วโมง

สูตรการคำนวณ    = (ค่าจ้างต่อวัน หาร ชั่วโมงงานปกติ) คูณ 2 เท่า คูณ ชั่วโมงที่ทำโอที

วิธีการคำนวณ      =(350 / 8)*2*8

สรุปนาย ข. ได้รับเงินค่าทำงานในวันหยุดจำนวน 700 บาท




ที่มา : กระทรวงแรงงาน

 4011
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

โปรแกรมเงินเดือน Payroll เป็นเครื่องมือที่ช่วยองค์กรของคุณจัดทำเงินเดือนได้อย่างครบครัน และถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว โปรแกรมเงินเดือน จึงเป็นโปรแกรมบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ครอบคลุมที่สุด เพราะ ‘พนักงาน คือ ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในองค์กร’
โปรแกรมบริหารงานบุคคล หรือ โปรแกรม HR คือ Human Resource Management Software เป็นซอฟต์แวร์ที่เข้ามาช่วยฝ่ายบุคคลในการจัดการงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคล และยังช่วยจัดการข้อมูลของพนักงานให้เป็นเรื่องง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดเวลาในการทำงานด้านเอกสารต่างๆ ของ HR ได้หลายประเภท
ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้กฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับเวลาในการทำงาน เช่น การทำงานล่วงเวลา การทำงานนอกเหนือจากเวลางานหรือกระทั่งการทำงานเป็นกะ เพราะเป็นกฎหมายที่ออกมาคุ้มครองลูกจ้างในฐานะผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความเป็นธรรมและไม่ถูกนายจ้างเอารัดเอาเปรียบเกินสมควร และกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาการทำงาน หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า การทำโอที (Overtime: OT) แก่ลูกจ้าง
ระบบลางาน ลงเวลาออนไลน์ ESS พนักงานสามารถลงเวลาเข้า – ออกงาน ผ่านมือถือ ได้ทุกที่ ทุกเวลา หากพนักงานทำงานนอกสถานที่ ก็สามารถลงเวลาผ่านเว็บไซต์บนมือถือได้ เป็นระบบที่ตอบโจทย์องค์กรธุรกิจยุคใหม่ และการทำงานยุค Work Anywhere
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์