ทำไม บริษัทจำเป็นต้องมี Innovation หรือ นวัตกรรม?

ทำไม บริษัทจำเป็นต้องมี Innovation หรือ นวัตกรรม?



Innovation มีรากศัพท์มาจากคำว่า innovare ในภาษาลาติน ซึ่งหมายความว่าทำสิ่งใหม่ขึ้นมา สำหรับภาษาไทย ที่เราคุ้นเคยกันก็คือ นวัตกรรม นั่นเอง

ทำไม บริษัทจำเป็นต้องมี Innovation หรือ นวัตกรรม?

“จำเป็นต้องมี เพื่อการเติบโตขององค์กร ลำพังสินค้าเดิมๆ บริการแบบเดิมๆ คงจะไม่พอ การมีนวัตกรรม ทำให้เราสามารถพัฒนาสินค้าใหม่ หรือ บริการใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ลูกค้าของเราได้มากยิ่งขึ้น”

“ธุรกิจของเรามีคู่แข่งมากมายทั้งในและต่างประเทศ การที่เรามีนวัตกรรม ก็เพื่อทำให้เราสามารถคงเอาไว้ถึงความได้เปรียบในการแข่งขัน”

“ลำพังธุรกิจเดิมๆ อาจจะไม่สามารถนำพาบริษัทไปถึงเป้าหมายได้ และ ลูกค้าก็มีพฤติกรรมการใช้งาน ที่เปลี่ยนแปลงไป เราจึงจำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรม ในการสร้างสรรค์สินค้า หรือ บริการใหม่ๆ กับตลาดใหม่ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ และ กำไรให้กับบริษัท”

“เป้าหมายของบริษัท คือการเติบโตในเรื่องของกำไร การที่จะทำกำไรให้เพิ่มขึ้นทุกปี โดยอาศัยการลดต้นทุน หรือ ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานหรือการผลิต มันไม่มีทางตอบโจทย์เป้าหมายระยะยาวขององค์กรแน่ๆ ดังนั้นการมีนวัตกรรม จะเป็นการช่วยให้เราสร้างรายได้ และกำไร จากโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในอนาคต”

หลากหลายความคิดเห็น ที่ได้จากผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นไปในทิศทางคล้ายๆ กัน ในเรื่องที่ว่า “บริษัทจำเป็นต้องมีนวัตกรรมไหม?”

แต่มีอีกเหตุผลนึง ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่สุด ที่ทำให้บริษัทจำเป็นต้องมีนวัตกรรม นั่นก็คือ “เพื่อความอยู่รอด”

เพราะความอยู่รอดของบริษัทเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยเฉพาะยุคนี้ ซึ่งเป็นยุคที่อายุของบริษัทสั้นลงเรื่อยๆ เราจึงได้เห็นบริษัทยักษ์ใหญ่หลายๆ บริษัท ล้มหายตายจากไป ด้วยสาเหตุที่บริษัทเหล่านั้นไม่มีนวัตกรรมที่ดีพอ ที่จะสามารถนำพาบริษัทเอาชนะการเปลี่ยนแปลงได้

ดังนั้นการจะทำธุรกิจในแบบเดิมๆ ได้หมดยุคไปเรียบร้อยแล้ว

ถ้าอยากจะทำธุรกิจให้รุ่ง และ ให้รอด ผู้ประกอบการ รวมไปถึงตัวพนักงาน จะต้องใช้นวัตกรรม เป็นตัวนำ

แล้วองค์กร จะต้องมี นวัตกรรม แบบไหนดี?

ในเรื่องของนวัตกรรม ยังมีผู้ประกอบการหลายคนยังเข้าใจในเรื่องนี้คลาดเคลื่อนในหลายๆ ประเด็น บางคนเชื่อว่า การมี หรือ การสร้างนวัตกรรม เป็นเรื่องยาก เพราะตนเองไม่มีไอเดีย ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจริงๆ แล้วความคิดแบบนั้นเป็นการเข้าใจผิด เพราะเรื่องเหล่านี้มันสร้างกันได้

ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจในเรื่องกระบวนการ สร้างนวัตกรรม กันซะใหม่ ขอยกตัวอย่าง Invention Cycle ของ Tina Seeling เป็นศาสตราจารย์ จาก Stanford University และ เป็นผู้แต่งหนังสือดังๆ หลายเล่ม เช่น Creativity Rules, Insight Out, inGenious และ What I Wish I Knew When I Was 20

โมเดล Invention Cycle นี้มาจาก หนังสือ Creativity Rules เป็น Framework แบบง่ายๆ ที่แสดง ให้เห็นถึงกระบวนการทั้งหมดในเรื่องของ Innovation โดยมีจุดเริ่มต้นจากไอเดียจนไปถึงการสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมาจริงๆ Invention Cycle ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

Imagination: “จินตนาการ”

ในที่นี้คือจุดเริ่มต้นของการสร้างนวัตกรรม หมายถึงการจินตนาการถึงส่ิงที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง หรือ สิ่งที่ยังไม่เคยมีมาก่อน

Creativity: “ความคิดสร้างสรรค์”

เป็นขั้นตอนที่นำจินตนาการของเรา มาสร้างเป็นไอเดียสร้างสรรค์ (Creative Idea) เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า หรือ กลุ่มเป้าหมาย ในขั้นตอนนี้ จะทำให้เราได้ไอเดียใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นไอเดียที่ใหม่สำหรับเรา แต่อาจจะมีในที่อื่นมาแล้วก็ได้

สิ่งสำคัญที่เราต้องทำความเข้าใจในขั้นตอนนี้ก็คือ ไอเดียที่ดีจะต้องมาจากหลายๆ ไอเดีย ดังนั้นถ้าอยากได้ไอเดียดีๆ หรือ ไอเดียที่ยอดเยี่ยม ก็ต้องช่วยระดมความคิด ระดมสมองร่วมกับทีมงาน เพื่อระเบิดไอเดียต่างๆ ออกมาให้มากที่สุด เพื่อที่จะได้ไอเดียที่เจ๋งที่สุดนำไปขยายผลในขั้นตอนต่อไป

Innovation: “นวัตกรรม”

เป็นขั้นตอนที่นำความคิดสร้างสรรค์นำไปสู่วิธีการแก้ปัญหาหรือคำตอบที่เฉพาะเจาะจงกับเรื่องนั้นๆ สิ่งที่ต้องระมัดระวังในขั้นตอนนี้ก็คือ การวางกรอบปัญหาที่ผิด หรือ การตั้งคำถามที่ผิด ซึ่งจะทำให้ได้วิธีการ หรือ ได้คำตอบที่ผิดทางไปเลยก็ได้

ดังนั้นคุณภาพของการตั้งคำถามจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ควรด่วนสรุปวิธีการหรือหาคำตอบจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ขอให้มองหาสิ่งใหม่จากประสบการณ์ใหม่ๆ จะทำให้เราได้ในตัวเลือกและวิธีการที่ดีที่สุด

Entrepreneurship: “ความเป็นผู้ประกอบการ”

ในที่นี้หมายถึงต้องมีแนวคิดและทัศคติแบบเป็นผู้ประกอบการ กล่าวคือ ในกระบวนการของ การสร้างนวัตกรรม เป็นการทำงานเป็นทีม การอาศัยแค่ทีมเวิร์คมันคงไม่พอ ทัศนคติของผู้นำในทีมจะต้องมีความสามารถในการสร้างแรงจูงใจ กระตุ้นให้ทีมงานร่วมมือ ช่วยเหลือกัน และ ผลักดันให้โครงการนวัตกรรมเกิดขึ้นได้ ทำให้เกิดสร้างสินค้าและบริการใหม่ๆ ที่มาตอบโจทย์ทั้งตลาด และทั้งผู้บริโภคที่องค์การต้องการ

นอกจากนี้ผู้นำที่มี Entrepreneurship mindset ยังช่วยกระตุ้นให้ทีมงานมีความคิด และมีจินตนาการเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ต่อไปได้

“โมเดล Invention Cycle จึงเป็นโมเดลที่ไม่รู้จบ”

ถือเป็นโมเดลที่อธิบายวงจรของการสร้าง นวัตกรรมได้ดี และเพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ผู้เขียนจึงขอยกตัวอย่างกรณีศึกษา คือ Khan Academy

Khan Academy เป็น Education Platform ที่ก่อตั้งขึ้นโดย Sal Khan มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการการพัฒนาการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นด้วยการให้การศึกษาในระดับชั้นนำสำหรับทุกคนไม่ว่าที่ไหนโดยไม่คิดมูลค่าใดๆทั้งสิ้น

จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้ คือ Sal Khan ในอดีตเขาต้องทำหน้าที่เป็นติวเตอร์ คอยสอนการบ้านและแก้ปัญหาเรื่องวิชาเลขให้กับญาติของเขาที่อยู่ห่างไกลกัน สอนกันไปสอนกันมา ก็จนมาวันหนึ่ง เขารู้สึกว่าคงมีเด็กคล้ายๆ กับญาติของเขาอีกหลายร้อยหรือหลายพันคนแน่ๆ ที่มีปัญหาเรื่องการบ้านเลข

Sal Khan ก็เลยมองเห็นโอกาส โอกาสที่จะช่วยเหลือเด็กจำนวนมากที่มีปัญหาแบบเดียวกันได้ ในขั้นตอนนี้ คือขั้นตอน Imagination กล่าวคือ Sal Khan หลังจากที่เขาได้ลงไปคลุกคลีกับสถานการณ์ ตัวเขาก็เกิดจินตนาการขึ้นว่าอยากแก้ปัญหา บวกกับแรงผลักดันที่อยากจะช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาเลขจำนวนมาก

ส่งผลทำให้หลังจากนั้น Sal Khan ก็รู้แล้วว่าสิ่งที่เขาอยากทำมันสามารถเปลี่ยนโลกนี้ได้ เขาเริ่มคิดค้นหาไอเดียใหม่ๆ และทำการทดลองควบคู่กันไปด้วยในการทำสื่อการเรียนการสอนผ่านโลกออนไลน์ ในขั้นตอนนี้ คือ ขั้นตอน Creativity ซึ่งจะเห็นได้ว่า ด้วยความมี Passion ของ Sal Khan ผลักดันให้เขาสามารถทำในสิ่งที่เขาต้องการต่อไปได้

หลายปีต่อมา Sal Khan ก็เข้าใจปัญหาของระบบการศึกษาเดิมๆ อย่างถ่องแท้ และในที่สุดเขาก็ค้นพบไอเดียใหม่ในแบบที่ไม่มีใครเคยคิดหรือเคยทำมาก่อน ในขั้นตอนนี้คือ ขั้นตอน Innovation ซึ่ง Sal Khan เกิดไอเดียใหม่ ที่ได้จากการมองเห็นปัญหาที่แท้จริงที่เกิดจากมุมมองใหม่

จากนั้น Sal Khan ก็สร้าง Khan Academy ออกมาได้อย่างประสบความสำเร็จ ผ่านการทำงานหนัก ด้วยความเชื่อมั่นและดึงดันในสิ่งที่เขาทำ นอกจากนี้เขายังสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น ทำให้ทุกคนพร้อมใจที่จะให้การสนับสนุนโครงการ Khan Academy ของเขา ขั้นตอนนี้ก็คือ Entrepreneurship ซึ่ง Sal Khan ได้แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติของผู้นำในยุค Disruptive World ได้อย่างชัดเจน

เรื่องของ Khan Academy คงเป็นตัวอย่างที่ดี ที่ทำให้เราเข้าใจเรื่อง Invention Cycle มากขึ้น

บทสรุป

ผู้นำในยุคนี้ ยุคที่เป็น Disruptive World ต้องอย่าลืมว่า คุณไม่สามารถทำเรื่อง Innovation ด้วยตัวคนเดียวได้ หรือ ด้วยบุคคลากรเพียงไม่กี่คนได้ องค์การที่ต้องการความสำเร็จ ด้วยการใช้ Innovation เป็นตัวนำหรือตัวผลักดันองค์กร

ผู้นำจะเป็นต้องมี Entrepreneurship Mindset เหมือนกับ Sal Khan ด้วยเพราะ Innovation ไม่ใช่งานของใครคนใดคนนึง มันเป็นงาน และ เป็นเป้าหมายที่ทุกคนในองค์กรต้องช่วยกันสนับสนุน ผู้นำจึงมีบทบาทสำคัญมากในการทำหน้าที่นี้

นอกจากนี้ พนักงานเอง จำเป็นที่จะต้องเข้าใจบริบทของความสำคัญในการมีนวัตกรรมเช่นเดียวกัน เพราะเราอยู่ในยุคที่ความแน่นอนไม่มีจริง หากเรายังคงยึดติดกับกรอบความคิดและการทำงานแบบเดิมๆ นั่นหมายความว่าเรากำลังพาตัวเองเดินทางเข้าสู่จุดเสี่ยง หรือ ทางตันของอาชีพในอนาคตได้



ที่มา : thepractical.co

 3942
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การประเมินผล (Evaluation) ถือเป็นกระบวนการสำคัญอย่างหนึ่งขององค์กรเลยก็ว่าได้ เพราะผลประเมินนั้นจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบตั้งแต่ใช้ปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น, ตรวจสอบมาตรฐานขององค์กร, ประเมินศักยภาพของพนักงาน, กระตุ้นการทำงานตลอดจนพัฒนาการของบุคลากร, ไปจนถึงประเมินอัตราจ้างและผลโบนัสประจำปีอีกด้วย อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้มีเครื่องมือที่นำมาใช้ประเมินผลมากมายหลายรูปแบบ ตลอดจนวิธีการประเมินผลที่เพิ่มประสิทธิภาพของผลลัพธ์ได้ดีขึ้น หนึ่งในการประเมินผลที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากก็คือ “การประเมินผลรอบด้านแบบ 360 องศา (360-degree Feedback)” ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก และเป็นหนึ่งในเครื่องมือการประเมินผลที่ยอดเยี่ยมที่สุดเลยทีเดียว
การสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ (Job Interview in English) นั้นกลายมาเป็นมาตรฐานสำหรับบริษัทส่วนใหญ่ไปโดยปริยายแล้ว ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) มักจะเพิ่มการสัมภาษณ์งานช่วงนี้เข้ามาเพื่อทดสอบและประเมินศักยภาพของผู้สมัครงานแต่ละคนด้วย ถึงแม้ว่าบางบริษัทอาจจะไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการทำงานก็ตาม แต่ยุคปัจจุบันภาษาก็มีความสำคัญในทุกมิติของการทำงานด้วยเช่นกัน ไม่เพียงแต่ผู้สมัครจะเตรียมตัวในการตอบคำถามในส่วนนี้มาเป็นอย่างดีแล้ว ผู้สัมภาษณ์งานเองก็ควรจะต้องเตรียมตัวในส่วนนี้ให้ดีด้วยเช่นกัน เบื้องต้นอาจเริ่มด้วยการวางแผนในเรื่องคำถามภาษาอังกฤษ ตลอดจนลำดับการสัมภาษณ์ที่เอื้อประโยชน์ต่อการสนทนาที่ลื่นไหล ไปจนถึงการเช็คความถูกต้องและวัตถุประสงค์ของคำถาม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพให้มากที่สุด
Silo (ไซโล) คือ การทำงานแบบแยกส่วน ลักษณะขององค์กรที่ทำงานแบบนี้ คือคนในทีมต่างโฟกัสเฉพาะงานของตัวเอง ไม่สนใจการทำงานของคนอื่นๆ หรือพูดง่ายๆ คือ การทำงานแบบ Silo จะตรงข้ามกับคำว่า “Teamwork” การทำงานแบบ Silo จะทำให้องค์กรพบกับความยุ่งยากในการแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงความสามารถในการผลิตหรือพัฒนาสิ่งใหม่ๆ เช่น การประเมินผลพนักงาน การฝึกอบรม...
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์