เช็กลิสต์ Super Leader! ผู้นำแบบไหนที่พาธุรกิจรอดพ้นแบบสตรองในช่วงวิกฤต

เช็กลิสต์ Super Leader! ผู้นำแบบไหนที่พาธุรกิจรอดพ้นแบบสตรองในช่วงวิกฤต

   
     เชื่อว่าไม่มีธุรกิจไหนที่ดำเนินไปอย่างราบรื่น 100 เปอร์เซ็นต์ บางครั้งก็มีอุปสรรคเข้ามาทักทายเป็นช่วงๆ บางครั้งก็เจอปัญหาที่ควบคุมไม่ได้และหนักหน่อยก็เจอวิกฤตที่อาจทำให้ท้อใจกันบ้างเป็นเรื่องธรรมดาของการทำธุรกิจ แต่ปัญหาอยู่ตรงที่คุณเป็นผู้นำแบบไหนในช่วงวิกฤต คุณรับมือกับปัญหาต่างๆ แบบไหน แล้วคุณจะสามารถพาธุรกิจให้รอดพ้นวิกฤตได้หรือไม่
เราอยากชวนคุณมาสำรวจตัวเองและพัฒนาในจุดที่ขาด ต่อยอดในสิ่งที่มีเพื่อนำพาให้ธุรกิจของคุณแข็งแกร่ง ก้าวข้ามได้ทุกวิกฤต!

  • ตัดสินใจเฉียบขาดทันท่วงที

     หนึ่งในคุณสมบัติของสุดยอดผู้นำที่จะพาธุรกิจข้ามผ่านวิกฤตได้นั่นคือการตัดสินใจที่เด็ดขาด มีสายตาเฉียบคม วิสัยทัศน์กว้างไกลและพร้อมจะตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที เพราะบางครั้งในช่วงวิกฤตเรารอนานไม่ได้ ผู้นำที่เก่งกาจจะสามารถประมวลข้อมูลที่มีอยู่ในมือแล้วนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้องได้ในทันที โดยเขาจะประเมินจากสถานการณ์ ความเสี่ยง ผลลัพธ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ประสบการณ์ต่างๆ ที่สั่งสมก็สำคัญในการตัดสินใจช่วงวิกฤตเช่นนี้

  • ปรับตัวอย่างรวดเร็ว

     การจะนำพาธุรกิจให้รอดได้ในทุกวิกฤต ผู้ประกอบการหรือสุดยอดผู้นำที่ดีจะมีการปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยพวกเขาจะมองทะลุปรุโปร่งถึงอนาคตว่าธุรกิจจะต้องดำเนินไปอย่างไร ควรปรับตัวอย่างไรเพื่อให้ผ่านวิกฤตครั้งสำคัญไปได้โดยที่ไม่เสียความเป็นตัวตนของธุรกิจ โดยในจุดนี้ ผู้นำเองต้องมองว่าทรัพยากรที่มีอยู่ในมือนั้นมีอะไรบ้างและจะสามารถทำอะไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ในช่วงวิกฤต อาทิ ในสถานการณ์ไวรัสโควิด ร้านบุฟเฟต์ต่างๆ ไม่สามารถเปิดให้บริการลูกค้าเข้ามารับประทานได้ ปัญหาคือวัตถุดิบต่างๆ ในสต็อกอาจจะเน่าเสียในอนาคต หลายร้านจึงเริ่มปรับตัวด้วยการนำเอาวัตถุดิบต่างๆ มาสร้างเมนูใหม่ที่สร้างสรรค์และน่ารับประทานเพื่อส่งให้ลูกค้าแบบเดลิเวอรีหรือจัดเซ็ต บุฟเฟต์เสิร์ฟถึงบ้าน นอกจากนี้บางร้านยังนำวัตถุดิบคุณภาพดีมาขายในราคาไม่แพงอีกด้วย

  • มองวิกฤตให้เป็นโอกาส

     เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณท้อ ทุกอย่างรอบตัวจะดูมืดมนและจมอยู่ในหลุมดำ แต่ถ้าคุณพลิกมุมมองใหม่ หาข้อดีของวิกฤตให้เจอ แล้วลงมือทำอะไรเท่าที่จะสามารถทำได้ เราเชื่อว่าวิกฤตจะเปลี่ยนเป็นโอกาสที่ดีได้ในที่สุด ในสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ ยังมีลูกค้าที่ต้องการสินค้าหรือบริการอะไรบางอย่างอยู่เสมอ คุณแค่ต้องรู้ว่าธุรกิจของคุณจะตอบโจทย์หรือสร้างอะไรให้พวกเขาได้บ้าง

  • นำพาความคิดที่เป็นบวก

     หนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดยอดผู้นำควรทำช่วงวิกฤตคือการทำให้พนักงานและคู่ค้ารู้สึกว่าโลกใบนี้ไม่ได้แย่เกินไป ยังมีอะไรดีๆ อยู่บ้างและคุณควรจะเป็นคนนั้นที่ทำให้พวกเขาได้รู้สึก ท่ามกลางความวิตกกังวลในสถานการณ์วิกฤต ผู้นำที่ดีจะไม่ได้จดจ่อและพูดถึงแต่ปัญหาอย่างเดียว แต่พวกเขาจะจดจ่อกับโซลูชัน ทางออกจากปัญหา วิธีการแก้ไข แนวคิดให้ใจไม่เป็นทุกข์พร้อมกับกำลังใจก้อนใหญ่ที่มอบให้คนรอบข้างอย่างต่อเนื่อง

  • นิ่งสงบใจกลางพายุ

     ว่ากันว่าใจกลางพายุเป็นพื้นที่ที่สงบที่สุด และท่ามกลางวิกฤตหนักๆ สิ่งที่ผู้นำควรทำคือการสงบ เยือกเย็น ไม่ใช่เพราะนิ่งเฉย แต่เป็นการสงบนิ่งเพื่อให้มองเห็นปัญหาและทางแก้ไขได้อย่างชัดเจนที่สุดต่างหาก มีหลายคนที่พอเจอปัญหาแล้วตื่นตระหนก ตีโพยตีพาย ใจร้อนรุ่ม ยิ่งทำให้หัวสมองตื้อ คิดอะไรไม่ออก ฉะนั้น ลองเปลี่ยนเป็นการทำใจให้สงบ ค่อยๆ คิดและหาทางแก้ไข เมื่อไหร่ที่มั่นใจจึงตัดสินใจอย่างทันท่วงที การทำใจให้สงบท่ามกลางความโกลาหลเป็นสิ่งที่ทำยาก แต่ถ้าทำได้จะช่วยให้คุณก้าวผ่านปัญหาได้ดีขึ้น

  • ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

     นอกจากธุรกิจที่คุณต้องพาข้ามวิกฤตแล้ว ทีมงาน พนักงานและคนที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับคุณมาคือผู้คนที่คุณต้องพาพวกเขาก้าวผ่านวิกฤตนี้ด้วยเช่นกัน สิ่งที่ผู้นำต้องทำในยามวิกฤตคือปลุกพลังและความเชื่อมั่นว่าคุณจะไม่ทิ้งบุคคลเหล่านี้อยู่เบื้องหลัง นี่เป็นช่วงเวลาที่ดีในการสร้างความผูกพัน ความเชื่อมั่นและการซื้อใจพนักงานของคุณ เมื่อพวกเขารับรู้ได้ว่าคุณมองเห็นพวกเขาสำคัญและจะไม่ทิ้งกันในช่วงวิกฤต ยิ่งทำให้พวกเขาทุ่มเทเต็มที่เพื่อบริษัท วันใดที่วิกฤตผ่านไป คุณจะได้พนักงานที่รักในองค์กรแบบ 100 เปอร์เซ็นต์แน่นอน

    แน่นอนว่าการผ่านพ้นวิกฤตไม่ใช่เรื่องง่าย ขอเพียงแค่คุณสู้อย่างเต็มที่ มองวิกฤตให้เป็นโอกาส ถึงแม้จะล้มก็ไม่เป็นไร ยังมีประตูบานใหม่รอให้คุณเปิดออกไปเจอเสมอ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านวิกฤตชีวิตไปได้ด้วยดี

ขอบคุณบทความดีๆ จาก : www.smethailandclub.com

 637
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

แม้ร้านอาหารจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพเนื่องจากถือเป็น 1 ในปัจจัย 4 เพื่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เราจึงได้ยินคำพูดนี้บ่อยๆ ถ้านึกไม่ออกว่าจะทำธุรกิจอะไร ให้ขายอาหารเพราะไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ลูกค้าก็ต้องกิน     ด้วยเหตุนี้ ร้านอาหารจึงเป็นธุรกิจยอดฮิต ไม่แปลกที่จะมีผู้ประกอบการจำนวนมากเข้ามาชิงพื้นที่ในตลาด การแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้จึงสูง และไม่ว่าร้านอาหารจะมีขนาดใหญ่หรือเล็ก สิ่งที่ต้องมีควบคู่กันคือการวางกลยุทธ์ด้านการตลาด     สำหรับคนที่ยังนึกไม่ออกว่าจะทำการตลาดแบบไหนให้ร้านเป็นที่รู้จัก และลูกค้าประทับใจจนเวียนกลับมาเป็นลูกค้าประจำ วันนี้มีไอเดียการตลาดสำหรับร้านอาหารมาฝากกัน 15 ข้อด้วยกัน ไปดูว่ามีอะไรบ้าง
จากหลักการตลาดที่ธุรกิจนิยมอย่าง หลักการ 4Ps ซึ่งประกอบไปด้วย Product, Price, Place, Promotion แต่เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิทัลเปลี่ยนแปลงไป จึงเกิดหลักการใหม่ นั่นคือแนวคิด 4Cs แนวคิด 4Cs ซึ่งเป็นแนวคิดที่ยึดผู้บริโภคไว้ตรงกลาง จะแตกต่างหรือเหมือนกับ 4Ps อย่างไร มีคำตอบ
วิธีการขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงาน • กรณีว่างงาน (สำหรับลูกจ้าง / ผู้ประกันตน) • กรณีชราภาพ (สำหรับลูกจ้าง / ผู้ประกันตน) • กรณีนายจ้างรับรองกรหยุดงานของลูกค้า อันเนื่องจากเหตุสุดวิสัย (สำหรับนายจ้าง)
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-739-5902

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-739-5903

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์