โปรแกรมบัญชี & โปรแกรม ERP ที่มาพร้อมกับฟังก์ชั่นสุดปัง ที่พลาดไม่ได้

โปรแกรมบัญชี & โปรแกรม ERP ที่มาพร้อมกับฟังก์ชั่นสุดปัง ที่พลาดไม่ได้

จากบทความที่ผ่านมาของ Prosoft เราได้จัดทำบทความเรื่อง "โปรแกรม ERP กับ โปรแกรมบัญชี คืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร?" ซึ่งอาจจะยังไม่ได้เจาะลึกถึงฟังก์ชั่นต่างๆ ที่อยู่ในโปรแกรมอย่างละเอียดสักเท่าไหร่นัก อาจจะยังสงสัยว่า แล้วในแต่ละโปรแกรมมีระบบบ้าง ดังนั้น วันนี้ Prosoft เลยจะมาไขข้อข้องใจให้ทุกคนกันค่ะ ว่าสองโปรแกรมนี้มีฟังก์ชั่นเด่นอะไร และจะช่วยเหลือธุรกิจในด้านไหนบ้าง เพื่อให้นักบัญชีรวมถึงผู้ประกอบการได้เห็นความสามารถที่แท้จริงของโปรแกรมบัญชี และ โปรแกรม ERP
โปรแกรมบัญชี & โปรแกรม ERP ที่มาพร้อมกับฟังก์ชั่นสุดปัง ที่พลาดไม่ได้

ระบบที่มีใน โปรแกรมบัญชี (Accounting Software) ที่ขาดไม่ได้

โปรแกรมบัญชี (Accounting Software)
โปรแกรมบัญชี (Accounting Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นการทำงานในด้านของบัญชีโดยเฉพาะ แต่ไม่ได้ครอบคลุมการทำงานส่วนอื่นๆ ขององค์กร โดยส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย การจัดทำเอกสารและรายงานต่างๆทางบัญชี ทั้งในเสนอราคา ใบสั่งขาย ใบกำกับภาษี การขาย การจัดซื้อ สต๊อกสินค้า ไปจนถึงบัญชี การเงิน และงานทางด้านภาษี ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ มากมายให้มีฟังก์ชั่นที่เทียบเท่ากับการทำงานของโปรแกรม ERP แล้ว โดยสามารถแบ่งระบบหลักๆ ได้ดังนี้
  • 1. ระบบขายและลูกค้าการค้า (Sales Order)

    ระบบจัดการงานขาย สามารถจัดทำใบเสนอราคาใบเสนอราคา ใบวางบิล ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ใบลดหนี้ ใบเพิ่มหนี้ ตัดของออกจากคลัง และจัดของเพื่อนำส่งสินค้า มีระบบการทำงานเชื่อมโยงกันระหว่างการ Post ตัด Stock อัตโนมัติ เพื่อรับรู้จำนวนสินค้าคงเหลือ ต้นทุนและกำไรขั้นต้นได้อย่างง่าย

  • 2. ระบบจัดซื้อ (Purchase Order)

    ระบบงานจัดซื้อจัดจ้าง ที่สามารถจัดทำได้ตั้งแต่การแจ้งขอซื้อ การสำรวจราคา การเทียบราคา การเปิดใบสั่งซื้อ และระบบการอนุมัติ สามารถวางแผนการจัดซื้อจัดจ้างได้ตามงบประมาณ และวิเคราะห์ยอดค่าใช้จ่าย ตาม Project ตลอดจนรองรับการจ่ายเงินล่วงหน้า และการปันส่วนต้นทุนค่าใช้จ่ายเข้าต้นทุนซื้อสินค้าได้อย่างง่าย

  • 3. ระบบต้นทุนการผลิต (Job Cost)

    ระบบต้นทุนการผลิต รองรับตั้งแต่การเปิดสั่งผลิต การรับรู้ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรง โสหุ้ย งานระหว่างทำ และการปิด Job งาน เพื่อรับรู้ต้นทุนผลิตเพื่อหากำไรขาดทุนจากการขายสินค้าที่ผลิตได้

  • 4. ระบบสินค้าคงคลัง (Inventory Control)

    ระบบสินค้าคงคลัง ที่ครอบคลุมทุกส่วนของงานคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการตัดเบิกสินค้า การรับสินค้า การโอนระหว่างคลังและระหว่างสาขา การตรวจนับ Stock และปรับปรุง Stock ให้ลงตัว รองรับการ Scan Barcode ตัวสินค้า ตลอดจนการเรียกดู Report ยอด Stock คงเหลือพร้อมต้นทุน ได้แบบ Real Time

  • 5. ระบบบริหารคลังสินค้า (Warehouse Management)

    ระบบบริหารคลังสินค้า เป็นระบบที่ใช้ควบคุมสินค้าคงคลัง ที่ช่วยให้กระบวนการทำงานในคลังสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน ตรวจสอบข้อมูลสินค้าได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ สามารถตรวจสอบยอดสินค้าคงเหลือในคลัง รวมทั้งแสดงสินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหวได้อีกด้วย

  • 6. ระบบบัญชี การเงิน (General Ledger)

    ระบบงานบัญชี ที่รองรับการเรียกดูบัญชีแยกประเภท การลงบันทึกรายวัน การออกงบทดลองและกระดาษทำการอัตโนมัติ และการวิเคราะห์ GL แยกตามแผนก ตาม Job และตามสาขาได้ พร้อมทั้งจัดสรรและควบคุมต้นทุน (Job Cost) บริหารกระแสเงินสด วางแผนและจัดทำงบประมาณ (Budget Control) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • 7. ระบบภาษี ธนาคารและเช็ค (Value Added Tax)

    ระบบภาษี ธนาคารและเช็ค สามารถเรียกดูรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย ของกิจการเป็นไปตามข้อกำหนดของสรรพากร และยังสามารถพิมพ์ ภ.ง.ด 3, ภ.ง.ด 53 รวมทั้งหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย และการรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้อีกด้วย

  • 8. ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน (Audit and Internal Control)

    ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล และตัวเลขต่างๆ ทางการเงิน การบัญชีที่บันทึกในรายการบัญชี รายงาน และเอกสารต่างๆ เพื่อให้สามารมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่บันทึกถูกต้อง และสามารถสอบทานได้หรือเพียงพอที่จะป้องกันความผิดพลาดในการทำงานของผู้ใช้ และป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล

ระบบที่มีใน โปรแกรม ERP ที่ขาดไม่ได้

โปรแกรมบัญชี ERP
ส่วนโปรแกรม ERP เป็นเครื่องมือที่ช่วยบริหารจัดการงานต่างๆ ในภาพรวมทั้งหมดขององค์กร โดยรวมฟังก์ชั่นทั้งหมดของทุกหน่วยงานมาไว้ในระบบเดียว ที่คลอบคลุมไปตั้งแต่งานในส่วนจัดซื้อ งานบัญชี, งานบริหาร, งานในส่วนของการจัดการบุคคล โดยระบบงานบัญชีใน ERP จะเป็นตัวเชื่อมต่อข้อมูลให้กับฝ่ายอื่นๆ และฝ่ายบัญชีแบบ Real Time ช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน ทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ ไม่ตกหล่น โดยสามารถแบ่งระบบหลักๆ ได้ดังนี้
  • 1. ระบบบริหารทรัพยากรการผลิต (MRP)

    เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนและควบคลุมกระบวนการผลิตทั้งหมด ทั้งในในระยะสั้นและระยะยาว รวมไปถึงการจัดการวัตถุดิบต่างๆ การขนส่ง สินค้าคงคลัง เป็นต้น โดยมีความสำคัญในการสร้างแผนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ

  • 2. ระบบบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล (HRM)

    อีกหนึ่งระบบสำคัญของ ERP เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและบริหารทรัพยากรบุคคลภายในองค์กร โดยเป็นการแสดงข้อมูลของพนักงาน การจัดสรรแรงงาน การประเมินผลการทำงานของพนักงาน การวางแผนการพัฒนาบุคลากร การจัดการเงินเดือนและสวัสดิการ

  • 3. ระบบบริหารการจัดการทรัพยากรทางการเงิน (FRM)

    เป็นระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรทางการเงินในองค์กร โดยรวมถึงการวางแผนการเงิน การจัดสรรงบประมาณ การบริหารเงินทุน การวิเคราะห์การเงิน และการรายงานทางการเงิน ซึ่งระบบ FRM ในโปรแกรม ERP จะทำให้คุณได้ทราบว่าธุรกิจกำลังเดินหน้าไปในทิศทางใด

  • 4. ระบบบริหารจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM)

    เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าในองค์กร โดยระบบ CRM จะเป็นการรวบรวมข้อมูลลูกค้า การวิเคราะห์ข้อมูล การติดต่อและดูแลลูกค้า และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า โดยมุ่งเน้นในการสร้างความพึงพอใจในลูกค้า สร้างความสัมพันธ์ที่มีความสำคัญและยาวนานกับลูกค้า และสร้างความเชื่อมั่นในการซื้อสินค้าหรือบริการขององค์กร

  • 5. ระบบบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (SCM)

    ระบบ SCM ในโปรแกรม ERP เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนและบริหารห่วงโซ่การส่งมอบสินค้าหรือบริการในกระบวนการธุรกิจ ตั้งแต่การจัดการกระบวนการซื้อขาย การผลิต การจัดส่ง และการเก็บรักษาสินค้าในห่วงโซ่การส่งมอบ เพื่อให้เห็นภาพรวมขององค์กรว่ามีการผลิตสินค้าเป็นจำนวนเท่าใด Feed back ของผู้ซื้อเป็นอย่างไร และควรผลิตสินค้าจำนวนเท่าใด ถึงจะคุ้มค่ากับองค์กรของคุณมากที่สุด

สรุปทั้งโปรแกรมบัญชี และ โปรแกรม ERP ล้วนแล้วแต่เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความสำคัญต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก เพราะช่วยบริหารจัดการงานต่างๆ ภายในองค์กรให้ดำเนินธุรกิจไปอย่างราบรื่นและมีคุณภาพ ไม่มีสะดุด และในปัจุบันยังถูกผลิตมาเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจขนาดกลาง-ใหญ่ เช่น ธุรกิจเหล็ก ธุรกิจผลิต ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจฝากขาย ธุรกิจบริการ และธุรกิจอื่นๆ อีกมากมาย ให้สามารถเลือกใช้ฟีเจอร์ตามโซลูชั่นธุรกิจได้ ดังนั้นองค์กรต่างๆ จึงมั่นใจได้เลยว่า โปรแกรมบัญชี และ โปรแกรม ERP คือทางออกที่ดีที่สุดในการเติบโตของธุรกิจ

ลงทะเบียน Demo โปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed
ลงทะเบียน Demo

ติดตามเกร็ดความรู้ดีๆ ที่เกี่ยวกับงานบัญชี ได้ที่
บทความ: www.prosoftwinspeed.com
 549
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบัน โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป ที่มีอยู่มีอยู่ในท้องตลาด ถูกผลิตออกมาอย่างมากมาย และธุรกิจก็ได้เติบโตขึ้นมากมายหลากหลายประเภท แล้วแบบนี้นักบัญชีและเจ้าของกิจการจะตัดสินใจเลือกโปรแกรมบัญชีอย่างไรให้เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเอง วันนี้ Prosoft เรามีคำตอบค่ะ
โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป Prosoft WINSpeed ช่วยให้การสร้างเอกสารทางบัญชีนั้นเป็นเรื่องง่าย ลดความผิดพลาด ประหยัดเวลา ช่วยออกเอกสารที่สำคัญ ปิดงบการเงินได้ง่ายๆ หมดกังวลกับปัญหาที่จะตามมา พร้อมฟังก์ชั่นดีๆอีกมากมาย
อุตสาหกรรมการผลิต เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเศรษฐกิจที่สำคัญมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจ SMEs ทั้งขนาดเล็ก-ขนาดกลาง ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในหลายๆ เช่น การพัฒนาซอฟต์แวร์อย่าง โปรแกรมบัญชี กับ ระบบบริหารต้นทุนการผลิต (Job Cost) ที่ช่วยบริหารจัดการทรัพยากรการผลิต
เคยสงสัยไหมว่าโปรแกรม ERP แตกต่างกับโปรแกรมบัญชีอย่างไร เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยกันอยู่ไม่น้อย เพราะทั้งสองซอฟต์แวร์นี้มีความเกี่ยวข้องกับงานบัญชีเหมือนกัน แล้วมันแตกต่างกันอย่างไร? ควรจะเลือกโปรแกรมอะไรให้เข้ากับธุรกิจของตัวเอง? เพื่อให้คุณเข้าใจมากขึ้นว่าสองประเภทนี้ต่างกันอย่างไร วันนี้ Prosoft เรามีคำตอบ
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์