การยื่นแบบภาษี ภ.ง.ด. คืออะไร ต่างกันอย่างไร

การยื่นแบบภาษี ภ.ง.ด. คืออะไร ต่างกันอย่างไร

มาทำความรู้จักกับการยื่นแบบฯประเภทต่างๆกันก่อนดีกว่า ผู้เสียภาษีไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ในการยื่นแบบเสียภาษีต้องกรอกแบบยื่นรายการภาษีเรียกว่า ภ.ง.ด. (ย่อมาจาก ภาษีเงินได้) 

กรณีบุคคลธรรมดา

บุคคลธรรมดา มีแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้

1. ภ.ง.ด.90 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(1)-40(8) แห่งประมวลรัษฎากรหลายประเภทหรือประเภทเดียว แต่มิใช่เงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรประเภทเดียว โดยมีกำหนดยื่นแบบภายในวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของปีภาษีถัดไป

2. ภ.ง.ด.91 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรประเภทเดียว โดยมีกำหนดยื่นแบบภายในวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของปีภาษีถัดไป

3. ภ.ง.ด.94 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี สำหรับผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(5) (6) (7) (8) แห่งประมวลรัษฎากร โดยมีกำหนดยื่นแบบภายในวันที่ 1 กรกฏาคม ถึง 30 กันยายน ของปีภาษีเดียวกัน

หมายเหตุ
เงินได้ตามมาตรา 40(1) ได้แก่ เงินได้จากการจ้างแรงงานได้แก่เงินดือน ค่าจ้าง โบนัส เป็นต้น
40(2) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ได้แก่ ค่านายหน้า ค่าเช่าบ้าน เป็นต้น
40(3) ได้แก่ เงินได้จากค่าลิขสิทธืหรือค่าสิทธิ์อย่างอื่น
40(4) ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยตั๋วเงิน เงินปันผล เป็นต้น
40(5) รายได้จากการให้เช่า
40(6) รายได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ
40(7) รายได้จากการรับเหมา
40(8) รายได้อื่นๆที่ไม่ใช่ 40(1) – 40(7) ได้แก่ รายได้จากธุรกิจ เกษตร ขนส่งอุตสาหกรรม

กรณีนิติบุคคล

นิติบุคคล มีแบบแสดงรายการภาษีที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

     1. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

1.1 ภ.ง.ด.1 แบบยื่นแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับกรณีผู้จ่ายเงินได้ที่เป็นบุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคมหรือคณะบุคคล ที่จ่ายเงินได้ประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า เป็นต้น ให้แก่ผู้เสียภาษีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา โดยผู้จ่ายเงินได้ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน

1.2 ภ.ง.ด.2 แบบยื่นแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับกรณีผู้จ่ายเงินได้ที่เป็นบุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคมหรือคณะบุคคล ที่จ่ายเงินได้ประเภท ค่าลิขสิทธิ์ ค่าสิทธิต่างๆ ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยตั๋วเงิน เงินปันผล เป็นต้น โดยผู้จ่ายเงินได้ซึ่งเป็นผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.2 ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน

1.3 ภ.ง.ด.3 แบบยื่นแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับกรณีผู้จ่ายเงินได้ที่เป็นบุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคมหรือคณะบุคคล ที่จ่ายเงินได้ประเภทค่าเช่าทรัพย์สิน ค่ารับเหมา ค่าบริการ ค่าจ้างทำของ ค่าโฆษณา ค่าขนส่ง เป็นต้น ซึ่งผู้รับเงินเป็นบุคคลธรรมดา โดยผู้จ่ายเงินได้ซึ่งเป็นผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นแบบภ.ง.ด.3 ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน

1.4 ภ.ง.ด.53 แบบยื่นแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับกรณีผู้จ่ายได้ที่เป็นรัฐบาล องค์กรรัฐบาล บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ที่จ่ายเงินได้ประเภท ค่าเช่าทรัพย์สิน ค่านายหน้า ค่าบริการค่าจ้างทำของ ค่าโฆษณา ค่าขนส่ง ซึ่งผู้รับเงินเป็นนิติบุคคล โดยผู้จ่ายเงินได้ซึ่งเป็นผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นแบบภ.ง.ด.53 ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน

     2. ภาษีนิติบุคคล

2.1 ภ.ง.ด.51 เป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้สำหรับบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (6 เดือน) กิจการทั่วไป SMEs Start-up ใช้วิธีประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทั้งปีและคำนวณภาษีจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิ วิธีนี้ถ้าประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิจริงของรอบปีบัญชีนั้น โดยไม่มีเหตุอันสมควรจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระไว้ขาด โดยกิจการต้องยื่นแบบภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี

2.2 ภ.ง.ด.50 เป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปีสำหรับบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยนำรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการมาคำนวณเสียภาษี

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

 31575
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

กรมสรรพากรประกาศ โดยให้นายจ้างยื่นแบบยื่นรายการภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.1ก, ภ.ง.ด.1ก พิเศษ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น โดยเริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบกับการจ่ายเงินได้เดือนภาษีมกราคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
ในเมืองใหญ่ๆ ทั่วประเทศไทย มีการเปิดธุรกิจสุขภาพและความงาม ทั้งฟิตเนส อาหารเสริม สปา นวดหน้า นวดตัว คลีนิกรักษาสิว ดูแลผิวพรรณ รวมทั้งการทำศัลยกรรมตกแต่ง เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพและเพิ่มความมั่นใจ ทั้งในรูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ ซึ่งเปิดดำเนินการโดยผู้ประกอบการที่มีความรู้ทางด้านสุขภาพ และการเสริมความงาม และเปิดดำเนินการโดยระบบแฟรนไชส์ ซึ่งมีประเด็นทางภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง จึงขอนำมากล่าวดังนี้
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์