ใบส่งของชั่วคราว กับ ใบกำกับภาษี ต่างกัน อย่างไร

ใบส่งของชั่วคราว กับ ใบกำกับภาษี ต่างกัน อย่างไร



ใบส่งของ ใบส่งของชั่วคราว (Temporary delivery order)

ถ้าจะพูดถึงคำว่า ใบส่งของ ใบส่งของชั่วคราว บางกิจการ หรือบาง ธุรกิจอาจได้ยินผ่านหู แต่ ไม่ทราบความหมาย ความสำคัญจริงๆ ของใบส่งของ หรือบางกิจการไม่ได้ใช่เแต่ได้รับมา ก็ไม่รู้จะลงบัญชีอย่างไร

ใบส่งของชั่วคราวเป็นเอกสาร ที่ธุรกิจบางประเภท จะต้องใช้แล้วจำเป็นต้องใช้มัน ถือเป็นเอกสารที่รับรู้ระหว่าง ผู้ซื้อ และ ผู้ขายเท่านั้น ไม่ได้มีผลทางภาษีจากกรมสรรพากร แต่อย่างใด แต่!! ก็อาจจะนำมาเป็นหลักฐานทางภาษีหากมีการตรวจสอบสินค้า หรือรายได้ ค่าใช้จ่าย

หากใบส่งของนั้นไม่ระบุจำนวนเงินก็ไม่สามารถนำมาลงเป็นค่าใช้จ่ายได้ แต่หากต้องการลงบันทึกบัญชีจะต้องจัดทำใบสำคัญจ่ายแนบ และระบุให้ชัดเจน ก็จะสามารถนำมาลงเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชีได้ แต่ก็ไม่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้

ใบส่งของชั่วคราวทาง ทางบัญชีต้องบันทึก?

ผู้ออกใบส่งของ

การออกใบส่งของทางบัญชี ต้องดูว่ากิจการออกใบส่งของให้แล้ว มีการเคลื่อนไหวส่งสินค้าให้กับลูกค้าแล้วรึยัง หากยังก็จะไม่มีผลทางบัญชี ไม่จำเป็นต้องบันทึกบัญชี แต่เป็นการออกเอกสารให้กับลูกค้า ว่าจะมีการส่งของให้วันไหน ของจะถึงวันไหน

การออกเอกสาร เลขที่ วันที่ ข้อความ ไม่จำเป็นต้องตรงตามใบกำกับภาษีตามที่สรรพากรกำหนด   เนื่องจากเอกสารใบนี้ ไม่สามารนำมาใช้ได้ในทางภาษีซื้อ และภาษีขายได้ และการออกใบส่งของนั้น บางครั้ง ใบกำกับภาษีขาย ก็อาจจะรันเลขที่ หรือวันที่ไปก่อนหน้าที่ จะมีการนำส่งสินค้าจากใบสั่งซื้อนั้นเองนั้นเอง

แต่การออกใบส่งของนั้น อาจจะอ้างถึงเลขที่ใบสั่งซื้อ ใบกำกับภาษีได้

ผู้รับใบส่งของชั่วคราว

เช่นเดียวกัน ฝั่งผู้รับเอกสารใบส่งของนั้น ก็ไม่จำเป็นต้องบันทึกบัญชีหากยังไม่ได้รับสินค้าจากผู้ขาย ฝั่งผู้รับนั้นจะต้องการนำเอกสารๆ ต่างที่ได้จ่ายชำระเงินแล้ว มาลงบันทึกบัญชีในกรณีที่จำเป็นต้องบันทึกบัญชี ก็สามารถทำใบสำคัญจ่ายแนบ แล้วนำจำนวนเงินนั้นมาบันทึกบัญชีได้

ใบส่งของชั่วคราว ที่จะนำมาใช้ในกิจการ

หากบริษัทของท่านไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก็อาจไม่ต้องกังวนกับเอกสารที่มีคำว่า “ใบส่งของชั่วคราว” แต่หากกิจการของท่านอยู่ในระบบภาษีมูลค่า การที่ได้เอกสารที่มีคำว่า “ใบส่งของชั่วคราว” ต้องดูแล้วว่ามีผลกับทางภาษีอย่างไรบ้าง

งานบริการ กับ “ใบส่งของชั่วคราว”

โดยปกติแล้วงานบริการอาจไม่เจอกับใบส่งของชั่วคราว หากไม่ได้เป็นกิจการที่ต้องมีการบริการผลิตสินค้าตามจำนวน ตัวอย่าง เช่น โรงพิมพ์
โรงพิมพ์ รับผลิตนิตยสาร ให้กับ ลูกค้า วันที่ผลิตเสร็จ โรงพิมพ์ยังไม่ได้รับเงิน แต่จำเป็นต้องนำนิตยสารส่งมอบให้กับ ลูกค้า จึงได้ออก “ใบกำกับภาษี/ใบส่งของชั่วคราว” แล้วภาระทางภาษีละ? เกิดขึ้นรึยัง?

ในกรณีนี้ ภาษีขายยังไม่เกิดขึ้นในเดือนนั้น แต่เมื่อใดที่โรงพิมพ์ได้รับเงินแล้ว จึงจะนำภาษีขายมาคำนวณแล้วนำส่งกรมสรรพากร
เอกสารฉบับนี้ ไม่ควรนำอยู่ในระบบคำนวณภาษี เอกสารที่มีคำว่า “ใบส่งสินค้าชั่วคราว” ควรออกแยกกับคำว่า “ใบกำกับภาษี” เนื่องจากการออกเอกสารใบส่งสินค้าชั่วคราว สรรพากร อาจมาองว่า สินค้าที่ส่งไป ไม่ควรจะเป็นการส่งชั่วคราวแต่ควรจะเป็นการขายสินค้า

แต่!! บางกรณีการมีความจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายสินค้าออกจากคลัง เพื่อไปเป็นตัวอย่าง หรือ ด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ควรจะออกเป็นเอกสาร ให้รับรู้ หรือเป็นหลักฐานระหว่าง ผู้ซื้อ และผู้ขาย เท่านั้น


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



บทความโดย : www.pangpond.com

 15304
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

“e-Tax Invoice หรือ “ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์” คือใบกํากับภาษีที่ปรับรูปแบบจากที่เคยเป็นกระดาษไปเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หากดูจากจุดที่แตกต่างคือ e-Tax Invoice จะมีหมายเลขใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) และลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เป็นเครื่องยืนยันตัวตนของผู้ออกใบกำกับภาษี (ผู้ขาย) และรับรองถึงความถูกต้องของข้อมูล
โครงการ e-Refund ปลอบใจคนพลาดสิทธิดิจิทัลวอลเล็ต สามารถนำค่าซื้อสินค้า-บริการลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 5 หมื่นบาท เริ่ม 1 ม.ค.67 คาดระยะเวลาใช้จ่ายนาน 45 วัน
โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป Prosoft WINSpeed ช่วยให้การสร้างเอกสารทางบัญชีนั้นเป็นเรื่องง่าย ลดความผิดพลาด ประหยัดเวลา ช่วยออกเอกสารที่สำคัญ ปิดงบการเงินได้ง่ายๆ หมดกังวลกับปัญหาที่จะตามมา พร้อมฟังก์ชั่นดีๆอีกมากมาย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หมายถึง ภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการในส่วนที่เพิ่มขึ้นแต่ละขั้นตอนของการผลิตและการจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นรายเดือน
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์