ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า

ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า



เจ้าพนักงานประเมินได้เข้าตรวจการขอเครดิตภาษีซื้อของผู้ประกอบการจดทะเบียนรายหนึ่ง  และพบประเด็นโต้แย้งเกี่ยวกับ ภาษีซื้อของสิ่งที่ผู้ประกอบการซื้อมาเพื่อมาเป็นของแถมให้ลูกค้า  ประเด็นคือผู้ประกอบการ นำภาษีซื้อจากการซื้อของมาเพื่อเป็นของแถมให้กับลูกค้า มาหักออกจากภาษีขาย

          เจ้าพนักงานฯเห็นว่าจะนำภาษีซื้อดังกล่าวมาหักออกจากภาษีขายไม่ได้ เพราะเมื่อนำสิ่งของแถมไปพร้อมกับการขายสินค้าหรือให้บริการ ของแถมดังกล่าวนั้นไม่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นจึงไม่สามารถนำภาษีซื้อจากการซื้อสิ่งของมาแถมไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้

   ข้อเท็จจริง ตามกฎหมาย

  1. การที่ผู้ประกอบการฯ ไปซื้อสิ่งของมาเพื่อแถมจากผู้ประกอบการจดทะเบียนรายอื่น จะถูกผู้ขายเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % ตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร เช่น ค่าสิ่งของ 10,000 บาท ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม 700 บาท แต่ภาษีมูลค่าเพิ่ม 700 บาทก็ถือเป็นภาษีซื้อของผู้ประกอบการฯ ที่ซื้อสิ่งของนั้นมาเพื่อเป็นของแถม
  2. โดยปกติภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการมาใช้ในการประกอบกิจการ ผู้ประกอบการสามารถนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ตามมาตรา 82/3 เว้นแต่เป็นภาษีซื้อต้องห้ามที่มิให้นำมาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/5 ก็ไม่มีสิทธินำมาหักได้
  3. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสิ่งของมาแถมนั้นเมื่อเวลาแถมสิ่งของดังกล่าวให้ลูกค้านั้น สิ่งของที่ซื้อมาแถมถือเป็น “สินค้า” ตามความหมายของกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม  ตามมาตรา 77/1 9) แห่งประมวลรัษฎากร และการ “แถม” ถือเป็นการจำหน่าย จ่าย โอน สินค้า ซึ่งถือเป็นการ “ขาย” สินค้า ตามมาตรา 77/1(8) การแถมสินค้าจึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร
  4. เนื่องจากกฎหมายมีข้อกำหนดว่า ถ้าการแถมสินค้านั้นเป็นการแถมสินค้าพร้อมกับการขายหรือการให้บริการ โดยมูลค่าของสินค้าที่แถมไม่เกิน มูลค่าของสินค้าที่ขาย มูลค่าของสินค้าที่แถมจะมีค่าเท่ากับศูนย์บาท (ไม่ต้องนำมารวมเป็นมูลค่าของฐานภาษี) ทั้งนี้ตามข้อ 2(1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) ฯ ดังนั้นการแถมสินค้าที่เข้าเงื่อนไขดังกล่าวจึงไม่มีภาษีขาย
  5. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าเพื่อนำไปใช้ในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ย่อมสามารถนำมาหักออกจากภาษีขายได้เพราะไม่ใช่ภาษีซื้อต้องห้ามตาม มาตรา 82/5(3) แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ2(3)ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)ฯ

          ดังนั้น การซื้อของมาเพื่อเป็นของแถมจึงเป็นการซื้อสิ่งของเพื่อนำไปใช้ในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นกัน แม้ของแถมนั้นเมื่อนำไปแถมจะไม่มีภาษีขาย แต่ก็ถือว่าเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการฯ จึงมีสิทธินำภาษีซื้อดังกล่าวมาหักออกจากภาษีขายได้


ที่มา : www.pattanakit.net

 7766
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้ประกอบการที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว นอกจากจะมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการพร้อมออกใบกำกับภาษีเป็นหลักฐาน ยังต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อและภาษีขายด้วย เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างไร 
เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
เพื่อไม่ให้คิดภาษีมูลค่าเพิ่มผิดพลาด และต้องจ่ายภาษีมากกว่าที่ควรจะเป็น เราไปดูเช็กลิสต์รายการสินค้าแบบไหนบ้างที่ไม่ต้องนำมาคำนวณฐานภาษีกันค่ะ
ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร หากบุคคลใดมีภาษีอากรค้าง กรมสรรพากรสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลยโดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้  และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-739-5902

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-739-5903

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์