ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน

ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน



การปิดบัญชี คือ การทำให้ตัวเลขในบัญชีตรงกับความเป็นจริง บัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายจะถูกปิดยอดคงเหลือ โอนไปบัญชีกำไรขาดทุน และยอดคงเหลือของบัญชีกำไรขาดทุนจะโอนไปยังบัญชีทุนพร้อมๆ กับยอดคงเหลือของบัญชี ถอนใช้ส่วนตัว  กิจการสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของยอดคงเหลือจากบัญชีแยกประเภทได้โดยการทำงบทดลอง หลังปิดบัญชี            

การปิดบัญชี (Closing  Entries)  หมายถึง  การโอนบัญชีที่เกี่ยวข้องกับบัญชีทุน  ซึ่งเป็นบัญชีชั่วคราว ได้แก่บัญชีถอนใช้ส่วนตัว บัญชีรายได้ และบัญชีค่าใช้จ่าย ไปยังบัญชีทุน  เพื่อหายอดคงเหลือของบัญชีทุนที่ถูกต้อง  ณ วันสิ้นงวดบัญชี รวมทั้งการหายอด คงเหลือ ของบัญชีสินทรัพย์ และหนี้สิน  ซึ่งหลังจากทำการปิดบัญชีแล้ว บัญชีที่เหลืออยู่ ได้แก่ บัญชีสินทรัพย์  บัญชีหนี้สิน  และบัญชีทุน  เพื่อยกไปยังงวดบัญชีถัดไป

การ ปิดบัญชี มีกี่ประเภท

การปิดบัญชี ประจำวัน คือ การปิดบัญชีในสมุดเงินสดทุกสิ้นวัน เพื่อทราบจำนวนเงินสดในบัญชีทุกวัน

การปิดบัญชี ประจำเดือน คือ การปิดบัญชี ในสมุดเงินสด สมุดซื้อสินค้า สมุดขายสินค้า  รายการภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย สมุดรายได้ค่าบริการ สมุดรายได้ขายสินค้า ค่าใช้จ่ายประจำเดือน ค่าใช้จ่ายอื่น ค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท เพื่อจัดทำงบทดลอง

การปิดบัญชี ประจำปี คือ การปิดบัญชีทุกบัญชีในสมุดรายวันแยกประเภท ภายหลังจากได้รับมีการปรับปรุงรายการ รับรู้รายได้ ค่าใช้จ่ายในงวด มีการบันทึกค่าเสื่อมราคา ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อประมาณการด้อยค่าของสินค้าคงเหลือ เพื่อจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น หมายเหตุประกอบงบการเงิน

ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน​ : ขั้นตอนในการปิดบัญชี

การปิดบัญชีจะบันทึกตามหลักการบัญชีปกติ  คือ  จะทำการบันทึกในสมุดรายวันทั่วไปแล้วผ่านไปยังบัญชีแยกประเภทดังนี้

 1.  บันทึกรายการปิดบัญชีประเภทรายได้และประเภทค่าใช้จ่ายในสมุดรายวันทั่วไป 

 2.  ผ่านรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป  ไปยังบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง  การปิดบัญชีมีขั้นตอนดังนี้

 ขั้นตอนที่  1  บันทึกรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป

                          1.1  บันทึกรายการปิดบัญชีในหมวดรายได้เข้าบัญชีกำไรขาดทุน 
                          1.2  บันทึกรายการปิดบัญชีในหมวดค่าใช้จ่ายเข้าบัญชีกำไรขาดทุน 
                          1.3  บันทึกรายการปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้าบัญชีส่วนของเจ้าของ(ทุน)
                          1.4  บันทึกรายการปิดบัญชีถอนใช้ส่วนตัวหรือเงินถอนเข้าบัญชีทุน

 ขั้นตอนที่  2  ผ่านรายการปิดบัญชี  จากสมุดรายวันทั่วไปไปยังสมุดแยกประเภททั่วไป

 ขั้นตอนที่  3  การปิดบัญชีทรัพย์สิน  หนี้สินและส่วนของเจ้าของ  ในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป

 ขั้นตอนที่  4  การจัดทำงบทดลองหลังการปิดบัญชี

 ขั้นตอนที่  5  ปรับปรุงรายการตอนสิ้นงวด เช่น รายได้รับล่วงหน้า / ค้างรับ ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า / ค้างจ่าย หนี้สงสัญจะสูญ วัสดุสิ้นเปลอง ค่าเสื่อมราคา

 ขั้นตอนที่  6  การจัดทำงบทดลองหลังปรับปรุงรายการ

 ขั้นตอนที่  7 จัดทำงบการเงิน

ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน : การปิดรายได้ ค่าใช้จ่าย

ปิดบัญชี รายได้ และ ค่าใช้จ่าย เข้าบัญชี ต้นทุนการขาย ต้นทุนการผลิต ต้นทุนบริการ และบันทึกวัตถุดิบสิ้นปี

 DR    ต้นทุนการผลิต
           สินค้า / วัตถุดิบปลายปี
           ส่งคืนสินค้า /วัตถุดิบ
           ส่วนลดรับสินค้า /วัตถุดิบ
              CR  สินค้า / วัตถุดิบต้นปี
                      ซื้อสินค้า / วัตถุดิบ
                      ค่าใช้จ่ายในการซื้อ
                      ค่าใช้จ่ายในการผลิต

ปิดบัญชี รายได้ ต้นทุน และ ค่าใช้จ่าย เพื่อหากำไรสุทธิ / ขาดทุนสุทธิ

ปิดบัญชี สินทรัพย์ หนี้สิน และ ทุน เพื่อคำนวณหายอดยกไป และแสดงยอดไว้ในงบแสดงฐานะการเงิน ตามประเภทของบัญชี ณ วันสิ้นปี

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : www.beeaccountant.com

 100515
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

“e-Tax Invoice หรือ “ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์” คือใบกํากับภาษีที่ปรับรูปแบบจากที่เคยเป็นกระดาษไปเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หากดูจากจุดที่แตกต่างคือ e-Tax Invoice จะมีหมายเลขใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) และลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เป็นเครื่องยืนยันตัวตนของผู้ออกใบกำกับภาษี (ผู้ขาย) และรับรองถึงความถูกต้องของข้อมูล
โครงการ e-Refund ปลอบใจคนพลาดสิทธิดิจิทัลวอลเล็ต สามารถนำค่าซื้อสินค้า-บริการลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 5 หมื่นบาท เริ่ม 1 ม.ค.67 คาดระยะเวลาใช้จ่ายนาน 45 วัน
กรมสรรพากรประกาศ โดยให้นายจ้างยื่นแบบยื่นรายการภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.1ก, ภ.ง.ด.1ก พิเศษ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น โดยเริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบกับการจ่ายเงินได้เดือนภาษีมกราคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
ในเมืองใหญ่ๆ ทั่วประเทศไทย มีการเปิดธุรกิจสุขภาพและความงาม ทั้งฟิตเนส อาหารเสริม สปา นวดหน้า นวดตัว คลีนิกรักษาสิว ดูแลผิวพรรณ รวมทั้งการทำศัลยกรรมตกแต่ง เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพและเพิ่มความมั่นใจ ทั้งในรูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ ซึ่งเปิดดำเนินการโดยผู้ประกอบการที่มีความรู้ทางด้านสุขภาพ และการเสริมความงาม และเปิดดำเนินการโดยระบบแฟรนไชส์ ซึ่งมีประเด็นทางภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง จึงขอนำมากล่าวดังนี้
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-739-5902

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-739-5903

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์