วิธีการรับมือเมื่อกรมสรรพากรเรียกตรวจสอบภาษี

วิธีการรับมือเมื่อกรมสรรพากรเรียกตรวจสอบภาษี



เรามักได้เห็นผู้มีเงินได้ โดนกรมสรรพากรเรียกตรวจสอบกันมามากมาย ซึ่งคำว่าตรวจสอบอาจทำให้ใครหลาย ๆ คนเป็นกังวลว่าจะต้องรับมืออย่างไร

ความจริงแล้ว บางกรณีไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะการเรียกตรวจสอบของกรมสรรพากรอาจเกิดขึ้นจาก กรมสรรพากรต้องการตรวจสอบข้อมูลหรือเอกสารเพิ่มเติม ดังนั้นถ้าโดนแล้วก็ต้องเคลียร์ให้เรียบร้อย

วิธีการรับมือ เมื่อกรมสรรพากรเรียกตรวจสอบมีง่าย ๆ ต่อไปนี้

สิ่งแรก : ถ้ากรมสรรพากรเรียกพบต้องไปพบภายในเวลาและวันที่กำหนด

ระบบภาษีของประเทศไทยเป็นการเสียภาษีแบบประเมินตัวเอง คำนวณรายได้เอง  ถ้าหากเราทำถูกต้องโอกาสที่เราจะโดนเรียกพบก็น้อยมาก เว้นแต่ว่ามีการขอคืนภาษีที่อาจต้องมีการขอเอกสารเพิ่มเติม และถ้าหากมีข้อผิดพลาดใด ๆ กรมสรรพากรจะเชิญให้ไปพบ โทรหา หรือออกหนังสือเพื่อเรียกให้ไปพบ

อย่างไรก็ตามการไปพบกรมสรรพากร จะต้องมีหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น เมื่อได้รับหนังสือเรียกพบ นั่นหมายความว่าผู้มีเงินได้คนนั้นต้องไป หรือมอบอำนาจให้คนอื่นไปแทน ตามวันที่นัดหมายในหนังสือ แต่ถ้าหากวันนั้นไม่สะดวกสามารถโทรไปขอเลื่อนหรือปรึกษาทางกรมสรรพากรก่อน 

สิ่งที่สอง : ตรวจสอบข้อมูล หรือเอกสารก่อนว่า “ถูกเรียกพบในเรื่องใด”

การที่เราจะได้รับหนังสือเรียกพบจากกรมสรรพากร ไม่ได้หมายความว่าเราเป็นคนผิด หรือทำอะไรผิด แต่อาจจะมีเหตุผลอื่น ๆ ซึ่งให้ผู้เสียภาษีตรวจสอบตัวเองก่อนว่าประเด็นที่ถูกเชิญไปพบคืออะไร ทำผิดตรงไหน หรือมีอะไรต้องแก้ไขและเพิ่มเติมในบางเรื่อง การเตรียมตัวให้ถูกต้องจะทำให้เราจัดการสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

สิ่งที่สาม : เตรียมเอกสารให้พร้อม

เนื่องจากบางประเด็นอาจต้องใช้เอกสารประกอบประเด็นนั้น ๆ เมื่อเรามีเอกสารพร้อมไปเข้าพบกรมสรรพากรจะได้ไปไม่เสียเที่ยว หากอ่านภาษากรมสรรพากรในเอกสารไม่เข้าใจ สามารถโทรศัพท์ไปสอบถามได้ที่เบอร์ของกรมสรรพากรได้เลย

รวมถึงเตรียมตัวคนที่จะไปตอบประเด็นต่าง ๆ ให้พร้อม ถ้าหากไปเองก็ขอให้ตอบถูกต้องตามข้อเท็จจริง หรือถ้าหากให้คนไปแทนก็ต้องมั่นใจว่าเขารู้เรื่องจริง ๆ

หากต้องการทราบวิธีคำนวณภาษี อัตราค่าปรับส่งงบการเงินล่าช้า

ที่มา : www.ar.co.th

 1192
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเก็บภาษีย้อนหลัง (Retroactive tax) คือ จะเกิดขึ้นหลังจากมีการตรวจสอบภาษีย้อนหลัง ซึ่งจะเป็นการป้องปรามทางภาษีอากร โดยการตรวจสอบภาษีย้อนหลังจะดำเนินการโดย 3 หน่วยงาน คือ กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต และสาเหตุที่โดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังมี 2 อย่างด้วยกันดังนี้
กรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax)  ออกไปอีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (จากเดิมที่สิ้นสุดเมื่อ 31 ธันวาคม 2565) โดยออกเป็นร่างกฎหมาย รวม 2 ฉบับ สาระสำคัญของร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ที่เกี่ยวกับการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้
งบเปล่า คืองบการเงินของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ไม่ได้ดำเนินกิจการ ไม่มีรายได้และค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่มีการซื้อขาย ซึ่งถ้าตลอดปีงบการเงินไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ผู้ประกอบการก็ยังต้องมีหน้าที่ปิดงบการเงินส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรประจำทุกปี หรือเรียกว่าการปิดงบเปล่าส่ง
เพื่อไม่ให้คิดภาษีมูลค่าเพิ่มผิดพลาด และต้องจ่ายภาษีมากกว่าที่ควรจะเป็น เราไปดูเช็กลิสต์รายการสินค้าแบบไหนบ้างที่ไม่ต้องนำมาคำนวณฐานภาษีกันค่ะ
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์