ลองเช็คธุรกิจขาลงเพราะปรับตัวไม่ได้เอง? หรือผลกระทบจาก COVID 19?

ลองเช็คธุรกิจขาลงเพราะปรับตัวไม่ได้เอง? หรือผลกระทบจาก COVID 19?



ถ้าถามว่าการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID 19 ทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงักจริงหรือ? ตอบเลยแบบไม่ต้องคิดว่า “จริง!” แต่กระนั้นถามในมุมกลับ หากไม่มีการแพร่ระบาดของ COVID 19 เศรษฐกิจไทยจะโตไปถึงระดับไหน จะมีกิจการไปไม่รอดในช่วงนี้มากน้อยอย่างไร เชื่อว่าการแพร่ระบาดของ COVID 19 คือสาเหตุหลักที่ทำให้ทุกวันนี้เราต้องเผชิญกับมรสุมชีวิต ตกงาน ขาดรายได้ กิจการบางแห่งต้องปิดชั่วคราว บางแห่งปิดถาวร ประเทศสูญเสียรายได้มหาศาล

 
แต่จะเหมารวมว่าหลายกิจการไปไม่รอดเพราะพิษของ COVID 19 อย่างเดียวก็ดูจะเป็นการโยนแพะให้รับบาป ทั้งที่ความจริงผู้ประกอบการหลายคนมีสัญญาณไม่ดีเกี่ยวกับธุรกิจที่ตัวเองทำอยู่ ไม่แน่ว่าต่อให้ไม่มี COVID 19 เข้ามากิจการเหล่านี้ก็อาจจะไปไม่รอดอยู่แล้ว ดังนั้นลองมาตั้งคำถาม ถามตัวเองดูว่าทุกวันนี้ธุรกิจของเราขาลงเพราะ COVID 19 จริงหรือเปล่า?
 
ปีเตอร์ ดรักเกอร์ เคยกล่าวไว้ว่า “ความผิดพลาดที่ซีเรียสที่สุดไม่ได้เกิดจากคำตอบที่ผิด แต่หายนะที่แท้จริงเกิดจากการตั้งคำถามที่ผิด” จากภาวะเศรษฐกิจถดถอยมักทำให้เราเห็นข้อบกพร่องของกลยุทธ์การดำเนินงาน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถหาข้อบกพร่องของธุรกิจของตัวเองเจอและแก้ได้ทุกจุด และก็ไม่ใช่ทุกคนที่เจอจุดอ่อนของธุรกิจแล้วแน่ใจว่าใช่จุดอ่อนจริงๆ
 
ปัญหาที่เกิดจาก COVID 19 คือกำลังซื้อของคนน้อยลง คนออกมาจับจ่ายน้อยลง รวมถึงมาตรการสั่งปิดกิจการชั่วคราวและปัญหาด้านการนำเข้า ส่งออก ต่างๆ  สิ่งเหล่านี้ถูกมองว่าคือ “ปัญหา” ที่นำไปสู่คำว่า “ขาลง”  แต่บรรดาธุรกิจ SMEs อาจจะลืมไปว่า สิ่งที่ธุรกิจทำอยู่ก่อนหน้านี้คือทิศทางที่ถูกต้องแล้วหรือยัง หากยังไม่ใช่แล้วเผอิญเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID 19 ก็เลยทำให้สิ่งที่เป็นปัญหากลายเป็นปัญหาหนักขึ้น ดังนั้น ธุรกิจเองจึงควรตั้งคำถามกับตัวเองดังนี้
 
1. ลูกค้าที่แท้จริงในธุรกิจเราคือใคร?
เป็นคำถามพื้นฐานของคนเริ่มทำธุรกิจที่ต้องโฟกัส “กลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ” ให้ได้เพื่อจะได้ดำเนินกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้อง ก่อนหน้าที่ COVID 19 จะแพร่ระบาดหลายธุรกิจอาจโฟกัสเรื่องนี้ผิดพลาดมาแต่ต้น  การโฟกัสที่ผิดจุดก็เหมือนการเดินที่ผิดพลาดทำให้ธุรกิจต้องเสียเวลาและเสียงบประมาณไปโดยไม่จำเป็น
 
ยกตัวอย่างของแมคโดนัลด์ที่โฟกัสลูกค้าได้ชัดเจน โดยในปี 2010 มีสาขาทั่วโลกประมาณ 32,000 แห่ง มีคนมาใช้บริการเกือบ 60 ล้านคนทั่วโลก ในช่วงปี 1980 – 1990 แมคโดนัลด์ตระหนักดีว่าลูกค้าไม่ใช่คนที่มากินร้านอาหาร แต่เป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และเจ้าของแฟรนไชส์ ทำให้แมคโดนัลด์เปิดสาขาได้เพิ่มอีกปีละ 1,700 สาขา ซึ่งหัวหน้าสาขาของแมคโดนัลด์นั่นแหละคือลูกค้า” ทำให้แมคโดนัลด์แต่ละสาขามีเมนูที่ปรับไปตามรสนิยมของลูกค้าในพื้นที่ จนลูกค้าที่มากินพอใจ
 
2. ค่านิยมของบริษัทชัดเจนพอหรือยัง?
คนทำธุรกิจต้องรู้ว่าลูกค้า พนักงานบริษัท หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ตกลงใครกันแน่ที่บริษัทให้ความสำคัญ และประโยชน์ของใครกันแน่ที่ต้องมาก่อน? บางธุรกิจอาจจะตอบว่า ท้ายที่สุดพนักงานของบริษัทต้องมาก่อนเสมอ เพราะถ้าเราให้ความสำคัญ ดูแลพนักงานของเราอย่างดี พนักงานของเราก็จะดูแลลูกค้าของเราอย่างดี และนั่นก็หมายถึงสิ่งดีๆที่จะได้กลับมาสู่พนักงาน ซึ่งคำตอบนั้นไม่มีถูกผิด แต่การสื่อสารคำตอบที่ได้ให้กับคนในและนอกบริษัทต่างหากที่สำคัญกว่าตัวคำตอบเสียอีก และนั่นก็ช่วยให้เราตัดสินใจในเรื่องใหญ่ๆสำหรับธุรกิจได้
 
3. การวัดศักยภาพทางธุรกิจของตัวเองถูกต้องแค่ไหน?
บางคนรู้แต่ทฤษฎีแต่เอาเข้าจริง คนทำธุรกิจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะใช้ข้อมูลตรงไหนที่ชี้วัดศักยภาพทางธุรกิจของตัวเองได้ หลายคนโฟกัสข้อมูลที่เป็นตัวเลขซึ่งไม่จำเป็นกับธุรกิจก็เป็นเหตุผลว่าทำไมมองดูธุรกิจแล้วไม่เติบโตเท่าที่ควร ยกตัวอย่างดีๆ เช่น Amazon ที่โฟกัสไปที่รายได้ต่อคลิก (Revenue per click) และรายได้ต่อเว็บเพจ (Revenue per page turn) สองตัวนี้ที่จะบอกได้ว่า Customer Experience หรือประสบการณ์ที่ลูกค้ามีต่อบริการของ Amazon นั้นมีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน
 
4. ตั้งเป้าการเติบโตชัดเจนแค่ไหน? 
คนทำธุรกิจต้องรู้ “ขอบเขต” ของการทำธุรกิจตัวเอง แบบไหนที่ควรจะ “พอ” แบบไหนที่ควรจะ “ไปต่อ” เราต้องมีขอบเขตที่ชัดเจนแบบไหนที่เรียกว่า “สูงสุด” แบบไหนที่เรียกว่ายัง “ไปต่อได้อีก” การไม่รู้ขอบเขตก็เหมือนต้นไม้ที่แตกกิ่งก้านแบบไม่จำเป็นทั้งที่บางธุรกิจมีศักยภาพที่จะโตได้ในระดับนี้ แต่การตั้งเป้าที่ไม่ชัดเจนก็ทำให้มีปัญหากับการทำธุรกิจ ยกตัวอย่างการตั้งเป้าที่ชัดเจน

เช่น การที่ สตีฟ จอบส์ เคยบอกว่า Apple จะไม่ทำ PDA ออกมาขายอย่างแน่นอน จอบส์ได้พูดไว้ว่า “คนมักจะคิดว่าการโฟกัสคือการเห็นด้วยกับสิ่งที่เราใส่ใจ แต่มันไม่ได้หมายความแค่นั้น การโฟกัสมันยังหมายถึงการปฏิเสธไอเดียดีๆหลายๆอย่างด้วย”
 
5. ฝึกลูกน้องให้ทำงานเหมือนเป็นเจ้าของธุรกิจได้หรือเปล่า? 
หนึ่งในกลยุทธ์ของธุรกิจที่อยู่รอดในทุกสถานการณ์คือ การมีลูกน้องที่คิด “แบบเจ้านาย” พนักงานหลายแห่งคิดเสมอว่าตัวเองคือลูกจ้าง ตัวเองคือพนักงาน เรื่องความอยู่รอดของบริษัทคือหน้าที่ของ “เจ้านาย” ดังนั้นเมื่อเกิดวิกฤติหรือมีปัญหาคนเหล่านี้จะ “หยุดคิด” และ “รอคำสั่ง” จากเจ้านาย การทำให้ธุรกิจอยู่รอดเราต้องถามตัวเองด้วยว่า “เคยฝึกให้ลูกน้องคิดแบบเจ้านายได้หรือเปล่า” สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ที่จะสร้างสรรค์อย่างไรให้พนักคิดทุ่มเทแรงกายแรงใจและจงรักภักดีกับองค์กร
 
6. เคยฝึกให้พนักงานทำงานเป็นทีมบ้างหรือเปล่า? 
ธุรกิจใดก็ตามที่พนักงานไม่ร่วมมือกันคิดว่าเรามีหน้าที่แค่มาทำงาน เช้ามา เย็นกลับ พนักงานเหล่านี้จะไม่สนใจเรื่องการทำงานเป็นทีม ไม่สนใจสิ่งที่อยู่รอบตัว แค่คิดว่ามาทำงานตามหน้าที่ จ้างแค่ไหนก็ทำแค่นั้น ดังนั้นเวลาเกิดปัญหาพนักงานเหล่านี้จะไม่พยายามช่วยเหลือคนอื่นที่มีหน้าที่โดยตรงในการแก้ไขปัญหาคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ของตน ผลก็คือบริษัทไม่มีคำว่าทีมเวิร์คที่จะร่วมด้วยช่วยกันฝ่าวิกฤติให้ได้
 
7. เคยคิดวางแผนรับมือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นไว้บ้างไหม? 
ก่อนจะไปโทษว่าที่ธุรกิจไปไม่รอดเพราะพิษเศรษฐกิจ เพราะผลกระทบจาก COVID 19 เราควรหันมาถามตัวเองก่อนว่าเคยวางแผนรับมือสถานการณ์เสี่ยงๆ ไว้บ้างหรือเปล่า บางคนคิดแต่จะหากำไร หารายได้ แต่ไม่เคยวางแผนสำรองในกรณีฉุกเฉิน คำว่าแผนสำรองต้องมีอย่างน้อย 2-3 แผน เผื่อไว้ในหลายๆ สถานการณ์ และแผนรับมือเหล่านั้นต้องนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง เผื่อในยามฉุกเฉินจะได้มีวิธีรับมือ แม้ไม่อาจจะช่วยให้ธุรกิจมีกำไรมากขึ้นแต่อย่างน้อยก็พอให้ประคับประคองตัวให้อยู่ได้ตลอดรอดฝั่งในยามที่เกิดวิกฤติต่างๆ 
 
การแพร่ระบาดของ COVID 19 ไม่ต่างจากแบบทดสอบที่เอาไว้ประเมินศักยภาพในการทำธุรกิจของแต่ละคน แน่นอนว่าตอนนี้ทุกธุรกิจต่างได้รับผลกระทบเหมือนกันแต่ผลที่เกิดขึ้นในแต่ละองค์กรไม่เหมือนกัน ในขณะที่บางแห่งร้องโอดโอยว่าแย่แล้ว กิจการจะปิดแล้ว บางแห่งกลับยังดำเนินธุรกิจให้ประคับประคองต่อไปได้ แม้ตัวแปรของธุรกิจจะไม่เหมือนกันแต่โดยหลักการแล้วคนทำธุรกิจก็ต้องมีการวางแผน และมีการวางรากฐานให้ธุรกิจแข็งแกร่งรับมือได้ในทุกสถานการณ์ ไม่ใช่พอเกิดปัญหาทีก็ร้องขอให้คนช่วย แต่ตัวเองกลับไม่เคยช่วยตัวเองเลยสักครั้งเดียว

ขอบคุณบทความดีๆ จาก : http://www.thaifranchisecenter.com/

 1179
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบัน โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป ที่มีอยู่มีอยู่ในท้องตลาด ถูกผลิตออกมาอย่างมากมาย และธุรกิจก็ได้เติบโตขึ้นมากมายหลากหลายประเภท แล้วแบบนี้นักบัญชีและเจ้าของกิจการจะตัดสินใจเลือกโปรแกรมบัญชีอย่างไรให้เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเอง วันนี้ Prosoft เรามีคำตอบค่ะ
โปรแกรมบัญชี และ โปรแกรม ERP ล้วนแล้วแต่เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความสำคัญต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก เพราะช่วยบริหารจัดการงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น งานบัญชี ควบคุมการผลิต และจัดการคลังสินค้า เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจขนาดกลาง-ใหญ่
โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป Prosoft WINSpeed ช่วยให้การสร้างเอกสารทางบัญชีนั้นเป็นเรื่องง่าย ลดความผิดพลาด ประหยัดเวลา ช่วยออกเอกสารที่สำคัญ ปิดงบการเงินได้ง่ายๆ หมดกังวลกับปัญหาที่จะตามมา พร้อมฟังก์ชั่นดีๆอีกมากมาย
อุตสาหกรรมการผลิต เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเศรษฐกิจที่สำคัญมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจ SMEs ทั้งขนาดเล็ก-ขนาดกลาง ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในหลายๆ เช่น การพัฒนาซอฟต์แวร์อย่าง โปรแกรมบัญชี กับ ระบบบริหารต้นทุนการผลิต (Job Cost) ที่ช่วยบริหารจัดการทรัพยากรการผลิต
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์