คนค้าขายต้องรู้! 4 ขั้นตอน ยื่นขอใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน

คนค้าขายต้องรู้! 4 ขั้นตอน ยื่นขอใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน


“เครื่องบันทึกการเก็บเงิน” เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญของผู้ประกอบการร้านค้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ร้านขายของชำ ร้านขายเสื้อผ้า โดยเฉพาะกับธุรกิจค้าปลีก ที่เครื่องนี้กลายเป็นผู้ช่วยตั้งแต่เก็บเงิน คิดเงินตามรายการสินค้าที่ขายไป และยังช่วยประมวลรายรับ รายจ่ายในแต่ละวัน ทำให้เห็นผลประกอบการได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง ที่สำคัญ ยังสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ซึ่งสะดวกต่อผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย

โดยเฉพาะการออกใบกำกับภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจะช่วยขยายโอกาสการขายสินค้าไปในกลุ่มหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทห้างร้านทั้งหลายได้ นอกเหนือจากผู้ประกอบการจะต้องจดทะเบียนบริษัทให้เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ต้องรู้คือ ต้องทำการยื่นคำร้องขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินก่อน โดยสามารถดำเนินการได้ ดังนี้

  1. ยื่นคำขอและเอกสารแนบ

ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอและเอกสารแนบ ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ กรณีมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ท้องที่ที่สํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ หรือ ยื่น ณ สํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ กรมสรรพากร 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ

กรณีเป็นผู้ประกอบการภายใต้การกำกับดูแลของสํานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ โดยมีเอกสาร ดังนี้

1.1 คําขอ ภ.พ.06 แยกเป็นรายสถานประกอบการ (คำขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน เพื่อออกใบกำกับภาษีตามประมวลรัษฎากร (ภ.พ.06))

1.2 คุณสมบัติของเครื่องบันทึกการเก็บเงิน และแผนผังการต่อเชื่อมเครื่องบันทึกการเก็บเงินกับอุปกรณ์อื่นๆ

1.3 ตัวอย่างใบกำกับภาษีและรายงานต่างๆ ที่ออกจากเครื่องบันทึกการเก็บเงิน

1.4 แผนผังการวางเครื่องบันทึกการเก็บเงิน ณ สถานประกอบการ

  1. กรมสรรพากรพิจารณาคำขอ

จากนั้นเจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบคำขอและเอกสารแนบ โดยจะมีการตรวจคุณสมบัติของเครื่องบันทึกการเก็บเงิน ตัวอย่างใบกำกับภาษี และรายงานต่างๆ หากถูกต้องครบถ้วน กรมสรรพากรจะแจ้งผลการพิจารณาคำขอ พร้อมทั้งแจ้งเลขรหัสประจําเครื่องบันทึกการเก็บเงิน

  1. ติดตั้งเลขรหัสประจำเครื่องบันทึกการเก็บเงิน

มาถึงขั้นตอนนี้ ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการให้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน บันทึกเลขรหัสประจำเครื่องที่กรมสรรพากรกำหนดในใบกำกับภาษี สำเนาใบกำกับภาษี และในทุกๆ จุดที่กรมสรรพากรระบุให้ปฏิบัติ

  1. แจ้งกรมสรรพากรให้มาติดแถบสติ๊กเกอร์

หลังจากระบุเลขรหัสไว้ตามจุดต่างๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการติดต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ท้องที่ที่สถานประกอบการได้รับอนุมัติให้ใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตั้งอยู่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำการติดแถบสติ๊กเกอร์ ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจคุณสมบัติของเครื่องบันทึกการเก็บเงินและติดแถบสติ๊กเกอร์เรียบร้อยแล้ว ถือว่าเสร็จสิ้นกระบวนการ เท่านี้เครื่องบันทึกการเก็บเงินของร้านคุณ ก็สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้อย่างถูกต้องแล้ว

ที่มา : www.smeone.info

 2437
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การมองโลกในแง่ดีหรือคิดบวกคือ ความท้าทายในแต่ละวันของเรา เพราะเราจะต้องโฟกัสและตั้งมั่นที่จะทำ เพื่อเอาชนะสิ่งที่คุกคามและทำให้เราทดท้อได้ตลอดเวลา แน่นอนว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยบังเอิญแน่ๆ มันฝึกกันได้ ยิ่งกับคนที่ชอบคิดลบโดยตลอด ว่ากันว่า ยิ่งคิดบวก สุขภาพก็ยิ่งดีตาม
จงตั้งเป้าหมายไว้ที่ดวงจันทร์ เพราะถึงแม้ว่าคุณจะไปไม่ถึง คุณก็ยังได้อยู่ท่ามกลางหมู่ดาว” นับวันจะยิ่งทรงพลังมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งในยุคที่โลกกำลังขับเคลื่อนเข้าสู่ทศวรรษใหม่ ทั้งการเปลี่ยนแปลงของสังคม บวกกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี เราต้องเลือกว่าจะกล้าก้าวออกมาจาก Comfort Zone ฝึกตัวเองให้เป็นคนกล้าท้าทายสิ่งใหม่ จะออกแบบชีวิตและอาชีพตนเองอย่างไร เพื่อเพิ่มโอกาสและความสำเร็จให้ทันการเปลี่ยนแปลง
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์