สิ่งที่ควรตรวจสอบในการตรวจรับสินค้า

สิ่งที่ควรตรวจสอบในการตรวจรับสินค้า

 
สิ่งที่ควรตรวจสอบในการตรวจรับสินค้า

 

 


       การทำธุรกิจจำเป็นที่จะต้องมีเรื่องของการขนส่งสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะสินค้าทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้ไม่ได้วางจำหน่ายอยู่ต้นทางที่โรงงาน แต่มีจุดจำหน่ายปลายทางที่ร้านค้าขายสินค้าด้วยกันแทบทั้งสิ้น การตรวจรับสินค้าจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำและมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง โดยกฎเกณฑ์ที่นำมาใช้ในการตรวจสอบมีดังนี้

1. จำนวน

       เป็นสิ่งแรกและมีความสำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องนำมาพิจารณาในการตรวจรับสินค้าแต่ละครั้ง เพราะเรื่องนี้เป็นข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยมากที่สุดอย่างหนึ่งของการใช้ระบบการสั่งซื้อและจัดส่งสินค้าไปยังปลายทาง ซึ่งปัญหาที่มักเกิดตามมาก็คือการหาตัวผู้รับผิดชอบนั่นเอง ดังนั้นการตรวจรับสินค้าที่มาส่งแต่ละครั้งผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องของจำนวนให้มากเป็นพิเศษโดยจำนวนที่มาส่งจะต้องตรงกันกับยอดคำสั่งซื้อที่ส่งไป

2. ราคา

       เรื่องของราคาก็เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการห้ามพลาดในข้อนี้เป็นอันขาด โดยรายละเอียดของราคาจะต้องตรงกันกับยอดจำนวนที่ได้แจ้งเอาไว้ก่อนหน้านี้ หรือไม่ก็ต้องตรงกันกับจำนวนที่แท้จริงตามที่ตรวจนับได้เมื่อเทียบราคาต่อชิ้นคูณด้วยจำนวนจะออกมาเป็นผลลัพธ์เท่ากับราคาสินค้าที่สั่งซื้อครั้งนั้น โดยราคาที่ออกมาควรจะเป็นราคาขายส่งตามที่ได้คุยกันเอาไว้ด้วย ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของราคาควรจะมีหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรมาจากทางบริษัทหรือการแจ้งมาจากบริษัทแม่โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและมีความน่าเชื่อถือด้วย

3. เอกสารสำคัญต่างๆในการส่ง


       ถึงแม้เอกสารเหล่านี้ถือเป็นสัญญาโดยชอบตามกฎหมายอันเป็นหลักฐานการทำธุรกรรมระหว่างกันที่สำคัญมาก ดังนั้นทุกครั้งที่มีการส่งสินค้าผู้ประกอบการจะต้องทำการเรียกรับเอกสารดังกล่าวจากผู้ส่งด้วยไม่ว่าจะเป็นใบสั่งซื้อ ใบรับงาน ใบเสร็จ ใบรับประกันสินค้า ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบในรายละเอียดของใบรายการต่างๆให้ตรงกันกับสินค้าที่มาส่งด้วย

4. ของสมนาคุณที่มากับสินค้า

       เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มีข้อผิดพลาดเป็นอย่างมากสำหรับการตรวจรับสินค้าที่มีที่มาจากตัวผู้ประกอบการไม่ได้เรียก และผู้ส่งสินค้าแอบเก็บเอาไว้เองไม่ยอมส่งให้ ซึ่งต้องเข้าใจว่าสินค้าและบริการของธุรกิจบริษัทต่างๆมักจะทำการตลาดด้วยวิธีการแจกของสมนาคุณ เช่น แก้วน้ำ ช้อน ส้อม กระติกน้ำร้อน นาฬิกา คูปองส่วนลด ฯลฯ อยู่เสมอๆ ซึ่งมันจะมีส่วนช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อของชนิดนี้เพื่อต้องการของแถม แต่หากผู้ประกอบการไม่มีของแถมให้ อันเกิดจากความไม่รู้ว่าสินค้าดังกล่าวได้แนบของสมนาคุณมาให้ด้วยมันจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจของผู้ประกอบการอย่างรุนแรง ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องหมั่นตรวจสอบดูโปรโมชั่นการตลาดของสินค้าต่างๆอยู่เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ พร้อมเรียกร้องหากพบว่าไม่มีการส่งของสมนาคุณมากับสินค้าเพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ทางธุรกิจไว้นั่นเอง

5. วันหมดอายุ

       สินค้าที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มและอาหารจะมีปัญหาในข้อนี้มากเป็นพิเศษเพราะมีกำหนดในเรื่องของเวลาวันหมดอายุ ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบดูให้ดีก่อนการรับสินค้าทุกครั้ง เพราะหากรับสินค้าที่หมดอายุหรือใกล้จะครบกำหนดมานอกจากจะขายไม่ได้แล้ว ยังจะมีบทลงโทษตามกฎหมายอีกด้วยหากมีผู้รับประทานสินค้าที่มาจากทางร้านของผู้ประกอบการ โดยการตรวจรับสินค้าที่มีวันหมดอายุนี้นอกจากจะดูในส่วนของกำหนดเวลาแล้วยังต้องดูในเรื่องของระยะเวลาที่เหลืออยู่ของอายุสินค้าด้วย ซึ่งต้องมีเวลาไม่ต่ำกว่า 7 วันนับจากการรับสินค้า เพื่อความสะดวกในโอกาสการขายสินค้าให้ได้

6. เวลาที่จัดส่ง


       เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการหลายต่อหลายคนมักจะละเลยและไม่ถือสาอะไรมากนัก แต่หากผู้ประกอบการต้องการความสำเร็จในการทำธุรกิจ ผู้ประกอบการยิ่งจะต้องเคร่งครัดในเรื่องความตรงต่อเวลาตามที่ได้นัดหมายเอาไว้ให้มากขึ้นเป็นพิเศษ เพราะเวลากับธุรกิจถือเป็นสิ่งที่มีค่ามากซึ่งมันสามารถสร้างกำไรให้กับผู้ปได้ทุกวินาที หากสินค้าหมดลงและของล็อตใหม่ยังไม่มาส่งนั่นหมายถึงผู้ประกอบการจะเสียโอกาสในการทำกำไรตามเวลาที่ล่าช้าของการจัดส่งตามไปด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องเคร่งครัดในเรื่องนี้ให้มากเป็นเท่าทวีคูณ

7. คุณสมบัติตรงตามสเปคที่สั่ง

       เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องเอาใจใส่ให้มากสำหรับเรื่องของคุณสมบัติของสินค้า เนื่องจากสินค้านั้นถึงแม้จะมีชนิดเดียวกันและมาจากบริษัทผู้ผลิตที่เดียวกัน แต่เรื่องเกรดและคุณภาพของสินค้าอาจผิดไปจากที่สั่งซื้อก็เป็นได้ ผู้ประกอบการจึงต้องตรวจสอบดูที่ชื่อรุ่นและปริมาตรของความจุว่าตรงกันกับที่ได้สั่งซื้อไว้หรือไม่

8. ความเสียหายที่เกิดขึ้น


       ความเสียหายที่เกิิดขึ้นในขั้นตอนการขนส่งมักเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบดูให้ดีทุกครั้งที่ตรวจรับสินค้าว่า้มีสินค้าใดบ้างที่ชำรุดเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะของอาการบุบ โป่ง ฉีกขาด รั่ว ชำรุด และอื่นๆที่ผิดไปจากลักษณะของสินค้าต้นแบบ หากตรวจพบให้ทำการปฏิเสธการรับสินค้าชิ้นนั้นโดยทันทีและให้ทางบริษัทเปลี่ยนให้ใหม่ อย่าทำการตกลงกับผู้ที่มาจัดส่งให้โดยตรงเป็นอันขาดเพราะไม่ใช่หน้าที่รับผิดชอบของเขาจึงมีโอกาสจะถูกโกงหรือเอาเปรียบได้ค่อนข้างสูง

9. ต้องติดตามทวงถามทันทีเมื่อตรวจพบ


       หากผู้ประกอบการมาตรวจพบในภายหลังว่าสินค้าไม่มีคุณสมบัติและเกิดความเสียหายตามแนวทางทั้ง 8 ข้อที่กล่าวไว้ ผู้ประกอบการต้องรีบทักท้วงโดยทันทีที่ตรวจเจอ อย่าปล่อยให้เวลาล่วงเลยผ่านไปมากกว่านี้เพราะนั่นจะหมายถึงความรับผิดชอบของบริษัทผู้ผลิตสินค้าก็จะค่อยๆ เดินจากไปตามกาลเวลาด้วยนั่นเอง

       สินค้าและบริการถือเป็นหน้าเป็นตาหลักของการทำธุรกิจ ผู้ประกอบการจึงต้องสรรหาของที่มีคุณภาพดีที่สุดนำมาเสนอขายให้กับลูกค้า ดังนั้นเรื่องของการตรวจรับสินค้าจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะถ้าผู้ประกอบการได้ของที่ไม่ดีและขาดคุณสมบัติมาแล้วล่ะก็นอกจากจะหมายถึงการสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีแล้ว ยังเท่ากับว่าผู้ประกอบการได้ก่อภาระหนี้ขึ้นในธุรกิจของตนเองอีกด้วย

 


ที่มา : INCquity

 10071
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์