ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

       ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นเครื่องมือของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดเก็บจากผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการ ประกอบกิจการของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี มีกำหนดสิบสองเดือนต่อหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี นอกจากนี้ยังมีวิธีการจัดเก็บวิธีอื่นอีก คือ เก็บจากยอดรายรับหรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือเก็บจากค่าโดยสาร ค่าระวางฯ ของกิจการขนส่งระหว่างประเทศ หรือเก็บจากการจำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศ เป็นต้น 

       ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 

  1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตั้งขึ้นตามกฏหมายไทย
  2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย (กรณีมีสาขาในไทย) หรือมีตัวแทนซึ่งเป็นลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินหรือผลกำไรในประเทศไทย
  3. กิจการขนส่งระหว่างประเทศ
  4. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๔๐ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
  5. กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
  6. กิจการร่วมค้า ซึ่งได้แก่กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับ บริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือระหว่างบริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือนิติบุคคลอื่น                                                           
       เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคค 
  1. ยกเว้นตามอนุสัญญาภาษีซ้อน
  2. ยกเว้นตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
  3. ยกเว้นค่าลงทะเบียนหรือค่าบำรุงจากการรับบริจาคของมูลนิธิหรือสมาคม
  4. ยกเว้นเงินได้จากกิจการของโรงเรียนเอกชนที่มูลนิธิหรือสมาคมจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน

กำไรสุทธิที่จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้มาจากรายได้ของกิจการหรือเนื่องจากกิจการหักด้วยรายจ่ายของกิจการ ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน มาตรา ๖๕ ทวิ และ มาตรา ๖๕ ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

 

 


บทความโดย :  อาภรณ์ นารถดิลก
ประกาศบทความโดย :  http://www.prosmes.com

 2894
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-739-5902

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-739-5903

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์