ความแตกต่างระหว่างมาตรฐาน TFRS PAEs กับ NPAEs

ความแตกต่างระหว่างมาตรฐาน TFRS PAEs กับ NPAEs


ก่อนที่จะไปทำความรู้จัก PAEs กับ NPAEs เรามาทำความรู้จักกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทยก่อนเลย ซึ่งประเทศไทยมีมาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย (Thai Financial Reporting Standards -TFRSs) ที่อ้างอิงจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (International Financial Reporting Standards – IFRSs) เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล มาตรฐานการรายงานทางการเงินดังกล่าวใช้กับนิติบุคคลที่มีหน้าที่จัดทําบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ไม่ว่าจะเป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีหุ้นซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ หรือนิติบุคคลทั่วไปที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์แต่โดยที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สําหรับ กิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (PubliclyAccountable Entities- PAEs) และมีความยุ่งยากซับซ้อน จากการใช้แนวคิดมูลค่ายุติธรรม (Fair Value) เป็นหลักในการจัดทํารายงานทางการเงิน ซึ่งเป็นภาระและก่อให้เกิดต้นทุนในการจัดทํารายงานการเงินของ กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities- NPAEs) ที่ส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก


Publicly Accountable Entities | PAEs

          กิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (PubliclyAccountable Entities- PAEs) หมายถึง กิจการที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้

  1. กิจการที่มีตราสารทุนหรือตราสารหนี้ที่ซื้อขายในตลาดสาธารณะ
  2. กิจการที่นำส่งหรืออยูในกระบวนการนำส่ง งบการเงินให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) หรือหน่วยงานกำกับ ดูแลอื่นเพื่อออกขายหลักทรัพย์โดๆ ในตลาดสาธารณะ ได้แก่ กิจการที่ดำเนินธุรกิจหลักทรัพยและดูแลสินทรัพย์ฃองกลุ่มบุคคลภายนอกในวงกว้าง ได้แก่ สถาบันการเงิน บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกัน วินาศภัย บริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวม และตลาดสินค้า เกษตรล้วงหน้าแห่งประเทศไทย
  3. บริษัทมหาชน
  4. กิจการอื่นที่จะกำหนดเพิ่มเดิม โดยมี การจัดทำบัญชีโดยใช้มาตรฐานการบัญชีชุดใหญ่ (TFRS (2552)) ซึ่งประกอบด้วย แม่บทการบัญชี TAS 32 ฉบับ TFRS 4 ฉบับ TIC 4 ฉบับ และ TFRIC 1 ฉบับ

Non-Publicly Accountable Entities | NPAEs

          กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities- NPAEs) หมายถึง กิจการที่มิใช่ PAEs ที่มีการจัดทำบัญชีโดยใช้มาตรฐานการบัญชีชุดเล็ก (TFRS for NPAEs (2554)) หรือ มาตรฐานการบัญชีชุดใหญ่ หากไม่ประสงค์ที่จะจัดทำบัญชีตาม TFRS for NPAEs.

ความแตกต่าง ระหว่างมาตรฐาน TFRS PAEs กับ NPAEs

 
PAEs
NPAEs
งบการเงิน
– งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
– งบกำไรขาดทุน
– งบกระแสเงินสด
– งบกำไรขาดทุนค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ไม่กำหนดให้เปิดเผยค่าใช้จ่ายตามลักษณะ
– งบแสดงฐานะการเงิน 3 งวดบัญชี
 
– งบกำไรขาดทุนค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ ต้องเปิดเผย เพิ่มเติมค่าใช้จ่ายตามลักษณะที่สำคัญ
 
เงินลงทุน
– ราคาทุนตัดจำหน่าย
– ราคาทุนหักด้วยค่าเผื่อการลดมูลค่า
– มูลค่ายุติธรรม (หลักทรัพย์เพื่อค้า/เผื่อขาย)
– มูลค่ายุติธรรมปรับผ่านงบกำไรขาดทุน&กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น
ลงทุนในบริษัทย่อย
– ต้องทำงบการเงินรวม และต้องมีการรับรู้ส่วนแบ่ง ตามวิธีส่วนได้เสีย
– ไม่ต้องจัดทำงบการเงินรวมบันทึกราคาทุน
ผลประโยชน์พนักงาน
– ต้องมีการคำนวณจากหลักมาตรฐานคณิตศาสตร์ประกันภัย
– คำนวณด้วยวิธีประมาณการ โดยที่ผู้สอบ (Auditor) เห็นว่าสมเหตุสมผล
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
– ไม่ต้องตัดจำหน่าย(เหมือนกับคิดค่าเสื่อม) โดยให้ดูว่า ณ สิ้นปี มีการด้อยค่าหรือไม่
– ตัดจำหน่าย 10 ปี
รับรู้รายได้
– ตามหลัก TFRS15 5 ขั้นตอน*
– ยึดการถ่ายโอน หรือความเสี่ยงและผลตอบแทน ณ จุดใดที่มีการโอนจุดนั้นก็รับรู้รายได้
รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์
– รับรู้รายได้เมื่อมีการโอน
– สามารถเลือกได้ 3 วิธี
 
1. รับรู้รายได้เมื่อมีการโอน
 
2. รับรู้รายได้ตามอัตราส่วนงานที่ทำสำเร็จ
 
3. รับรู้รายได้ ตามค่างวดที่โอนเมื่อถึงกำหนดชำระ
ภาษีเงินได้
– คำนวณภาษีเงินได้รอตัดบัญชี (Deferred Tax Assets) เพราะผลต่างระหว่างบัญชีและภาษีอาจเกิด สินทรัพย/หนี้สิน ภาษีเงินได้ หรือ Deferred Tax Asset|DTA/Deferred Tax Liability |DTL
– ไม่จำเป็นต้องคำนวณ ใช้เพียงบันทึกภาษีเงินได้ค้างจ่าย

* TFRS15 5 ขั้นตอน

TFRS 15 (Five-step Model Framework)
TFRS 15 (Five-step Model Framework)




 1305
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์