วิเคราะห์โมเดลธุรกิจของ facebook ด้วย Business Model Canvas กันเถอะ

วิเคราะห์โมเดลธุรกิจของ facebook ด้วย Business Model Canvas กันเถอะ

 
วิเคราะห์โมเดลธุรกิจของ facebook ด้วย Business Model Canvas กันเถอะ  

 

       จากที่ thumbsup เคยนำ Business Model Canvas มาแนะนำให้เพื่อนๆ ได้รู้จักกันไปตั้งแต่ปีก่อน แต่ในบทความนั้นยังขาดในส่วนของกรณีศึกษาที่น่าสนใจ วันนี้เราจึงขอหยิบยกกรณีศึกษาของ Facebook โดยใช้ Business Model Canvas ในการดำเนินเรื่องกัน

       Facebook ก่อตั้งขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2004 โดยในช่วงแรกเป็นบริการที่เปิดให้ใช้ในกลุ่มนักศีกษาที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ก่อนขยายสู่มหาวิทยาลัยต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา และเปิดให้ผู้ใช้ทั่วไปใข้ในที่สุด หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Mark Zuckerberg เล็งเห็นว่าการที่จะทำให้ Facebook เติบโตได้นั้นในตอนแรกต้องสนใจและมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้  (ซึ่งจะเห็นว่าในช่วงแรกยังไม่มีการเปิดระบบโฆษณาในทันที) และอีกจุดที่ Mark เห็นก็คือการคิดและวาง Facebook ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดให้มีนักพัฒนามาต่อยอดบริการได้

       สำหรับ Facebook ในปัจจุบันมีการจับกลุ่มที่แตกต่างกันตามแต่ละจุดประสงค์ (Multi-Sided Platform) ทั้งในแง่ของผู้ใช้ทั่วไป นักพัฒนา และนักการตลาด ดังนั้นรูปแบบธุรกิจแบบนี้ตอนที่เขียน Business Model Canvas ควรใช้ Post it  ด้วยสีที่แตกต่างกันไป เพื่อสะดวกต่อการแยกแยะและวิเคราะห์ได้ ในที่นี่ได้นำหัวข้อหลักๆ ของ Business Model Canvas ที่ทำมาเสร็จแล้วจาก bmimatters.com มาขยายความ

 

 

วิเคราะห์โมเดลธุรกิจของ facebook ด้วย Business Model Canvas กันเถอะ

 

Customer Segments

       ในช่วงแรก Facebook เน้นกลยุทธ์สร้างตัวผลิตภัณฑ์และมอบประสบการณ์ที่ดี ดึงดูดใจผู้ใช้ ขยายและสร้างฐานลูกค้าทั่วไปให้มั่นคงก่อน เมื่อมีผู้ใช้อยู่ที่นั่นมากพอก็ดึงดูดให้นักการตลาดและนักพัฒนาเข้ามาต่อยอดสิ่งใหม่ๆ บนแพลตฟอร์มแห่งนี้

Customer Segments ถูกแบ่งออกมาเป็น 3 ส่วนด้วยกัน

  • Internet Users คือกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป อย่างเช่นเราๆ
  • Advertisers and Marketers เจาะกลุ่มนักโฆษณา นักการตลาดที่ต้องการนำ Facebook มาใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาด มีโครงการที่ Facebook สร้างขึ้นมา (Relationship) เพื่อสร้างสายสัมพันธ์กับคนกลุ่มนี้อย่าง facebookforbusiness
  • Developers นักพัฒนาที่เขียนโปรแกรมเชื่อมต่อกับ Facebook เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่อยอดต่างๆ มากมาย มีโครงการที่ Facebook สร้างขึ้นมา  (Relationship) เพื่อสร้างสายสัมพันธ์กับคนกลุ่มนี้ เช่น โครงการ Faceboook PMD ซึ่งกลุ่มนี้ถ้ามองอีกมุมจะถือว่าเป็นกลุ่มพาร์เนอร์ของ Facebook ด้วยก็ได้


Value Propositions


       ในแง่ของผู้ใช้ทั่วไป Facebook คือที่ที่ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงกับเพื่อนๆ ได้แม้ว่าจะอยู่กันคนละซีกโลก หรือไม่ได้เจอกันมานาน ติดตามและทราบข่าวความเป็นไป ได้ตลอด
สำหรับนักการตลาดและนักโฆษณาเมื่อมีผู้ใช้อยู่ที่นี่ Facebook ก็กลายเป็นเครื่องมือทางการตลาดไปในตัว สามารถสร้างเพจและคอนเทนต์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ใช้ และสามารถลงโฆษณากำหนดกลุ่มเป้าหมายตามเนื้อหาที่พวกเขาสนใจ

       สำหรับฟากนักพัฒนา Facebook นำเสนอแพลตฟอร์มที่มอบประสบการณ์ในรูปแบบของโซเชียลได้ และมีข้อมูลเฉพาะกลุ่มตามความสนใจ รวมถึงช่องทางการชำระเงิน อาทิเช่น ตัดผ่านทางโทรศัพท์มือถือ VISA Paypal ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่านักพัฒนาจะสร้างสรรค์แอพพลิเคชั่นบน Facebook อย่างไรให้น่าสนใจนั่นเอง

Revenue Streams

       ในด้านรายได้ Facebook ไม่ได้เก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ใช้ แต่เก็บค่าใช้จ่ายจากผู้มาลงโฆษณาและค่าธรรมเนียมจากการชำระเงินบนแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ทางนักพัฒนามาต่อยอดบนระบบ

Key Partners

       ในส่วนนี้มีความเกี่ยวข้องและเสริมกันอยู่กับฟากนักพัฒนาเอง – ด้วยฟีเจอร์ที่เปิดให้กับนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นทำให้ทุกวันนี้คอนเทนต์ต่างๆ สามารถถูกกระจายสร้างโอกาสในการเห็นบน Facebook มากขึ้น เราสามารถเห็นได้ว่าเพื่อนเรากำลังดูหนังอะไร ฟังเพลงอะไร อ่านหนังสืออะไรบนหน้า News Feed ได้ ยกตัวอย่าง เช่น ฟังเพลงจาก Deezer, Spotify, Pandora หรือดูหนังจากบริการของ Hulu (บริษัทที่ให้บริการสตรีมมิ่งภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาผ่านทางอินเทอร์เน็ต) เป็นต้น

       นอกจากนี้ในส่วนของ Business Model Canvas ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่มีอยู่ในรูปภาพ นั่นคือส่วน Key Resource ที่เพิ่มขึ้นมาหลังจาก Facebook เข้าซื้อกิจการ Instagram ซึ่งเป็นบริการโซเชียลเน็ตเวิร์คด้านรูปภาพที่ีคนนิยมใช้มากเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งสามารถนำบริการนี้ไปพัฒนาต่อยอดได้อีกมาก และรวมถึงคลังภาพที่มาจากการสร้างคอนเทนต์โดยผู้ใช้เอง

โดยสรุป

       แม้การวางผลิตภัณฑ์ของตนเองให้เป็นแพลตฟอร์มเปิด แล้วให้ 3rd party มาช่วยเพิ่มมูลค่า (Value-Added Service) ให้กับ Facebook เองจะประสบความสำเร็จไม่น้อยเพราะเป็นการวางแผนมาอย่างดีตั้งแต่แรกในการพยายามรักษาประสบการณ์ผู้ใช้ให้ดีที่สุดก่อน (ซึ่งจุดนี้ Social Network หลายบริการได้พลาดและล้มหายตายจากไปในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามากมาย) เมื่อตัวบริการดีแล้ว มีผู้ใช้เยอะมากพอ ทำให้มีอำนาจในการต่อรองกับ 3rd party ต่างๆ ที่จะมาพัฒนา และสร้างอะไรใหม่ๆ ให้กับ Facebook ไปในตัว เพราะลำพัง Facebook เองจะให้มาทำเองหมดเสียทุกอย่างนั้นเป็นไปไม่ได้ (หลายหัวย่อมดีกว่าหัวเดียว)

อย่างไรก็ตามใช่ว่าใครๆ อยากจะสร้างโมเดลเป็นแพลตฟอร์มแบบนี้ก็จะสำเร็จได้ คุณต้องคำนึงถึง

1) ขายอะไร (Value Proposition)- 
มีจุดยืนของตัวบริการของคุณที่ชัดเจน, แสดงให้เห็นถึงคุณค่า (Value​ Proposition) ที่ส่งมอบให้กับผู้ใช้อย่างแท้จริงก่อน

2) ขายใคร (Customer Segments) – รู้ว่ากลุ่มผู้ใช้บริการของคุณเป็นใครกันแน่ จะเป็น niche market ก็ได้ หรือจะเป็นรูปแบบ B2B คือกลุ่มลูกค้าองค์กรก็ได้ แต่เอาให้ชัดเจนว่าลูกค้าของคุณเป็นใคร

3) ของดีของคุณคืออะไร (Key Resource) – อะไรคือ ทรัพย์สินของคุณที่ไม่ใช่ว่าคู่แข่งรายอื่นๆ จะกระโดดเข้ามาง่ายๆ จริงอยู่ถ้าโมเดลของเราสำเร็จ การจะห้ามคนเลียนแบบนั้นคงเป็นไปไม่ได้ แต่คุณต้องสร้าง Barrier to Entry (อุปสรรคในการเข้าสู่อุตสาหกรรม) ในระยะยาวไว้ด้วย

ถ้าไม่มีผู้ใช้งานมากพอมันก็จะไม่สามารถก่อให้เกิดระบบนิเวศน์แบบแพลตฟอร์มที่เกื้อหนุนกันให้แข็งแรงตามมาได้เลย




ที่มา : Thumbsup in Thailand

 8833
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-739-5902

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-739-5903

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์