7 เทคนิคการจ่ายภาษีอย่างประหยัด

7 เทคนิคการจ่ายภาษีอย่างประหยัด

 

7 เทคนิคการจ่ายภาษีอย่างประหยัด

 

 

       ถ้าให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจมือใหม่ทุกคนเขียนปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกิจของตนใส่ลงบนกระดาษ เชื่อได้ว่าปัญหาที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆและน่าจะติดอยู่ในสามอันดับแรกยอดนิยมคงจะหนีไม่พ้นในเรื่องของการจ่ายภาษีอย่างแน่นอนเพราะไม่ว่าจะขยับตัวผันไปจับธุรกิจในด้านไหนก็ตามแต่มักต้องโดนขูดรีดภาษีอยู่ร่ำไปและการเสียภาษีในแต่ละปีต้องหมดเงินไปเป็นจำนวนมหาศาลการใช้เทคนิคพิเศษจะช่วยให้ผู้ประกอบการลดภาระค่าใช้จ่ายไปได้บางส่วนซึ่งนั่นหมายถึงผลกำไรจากการประกอบธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

       การจ้างนักบัญชีเป็นเทคนิคอย่างแรกที่อยากจะขอแนะนำโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการที่พึ่งจะก้าวกระโจนลงมาทำธุรกิจ เพราะนักบัญชีเหล่านี้คือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องของการประหยัดภาษีให้กับภาคธุรกิจโดยตรงซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวเป็นสิ่งที่ล้ำค่ามากในการทำธุรกิจ นอกจากนี้ประสบการณ์ทางด้านงานบัญชีจะช่วยทำให้บริษัทของผู้ประกอบการมีความสะดวกสบายและแบ็คอัพที่น่าเชื่อถือในสายตาของกรมสรรพากรโดยการพิจารณาจ้างขอให้เลือกใช้บริการของบริษัทรับทำบัญชีโดยตรงมากกว่าที่จะไปจ้างนักบัญชีอิสระเพราะมีคุณภาพและมาตรฐานที่ดีกว่ากันมาก อีกทั้งพนักงานส่วนใหญ่ยังมีใบอนุญาตที่ถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วยจึงสามารถเซ็นรับรองได้ทันทีไม่ต้องไปเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในส่วนนี้อีก

       เพราะอัตราในการจ่ายภาษีมีความผันผวนและแตกต่างกันค่อนข้างมากโดยมีปัจจัยขึ้นอยู่กับลักษณะของการจดทะเบียนโดยถ้าเป็นธุรกิจที่มีผู้ประกอบการเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวจะใช้รูปแบบของการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งจะอยู่ในรูปแบบอัตราก้าวหน้าที่อาจจะเสียภาษีขั้นสูงสุดถึง 37% ส่วนบริษัทที่เป็นนิติบุคคลจะเสียภาษีในรูปแบบของนิติบุคคลโดยเฉพาะที่สามารถประหยัดเงินไปได้เยอะโดยเสียในอัตราคงที่และมีขั้นสูงสุดอยู่เพียงแค่ 30% ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับลักษณะแบบแรกจึงขอแนะนำให้ผู้ประกอบที่มีรายได้มากกว่า 4 ล้านบาทขึ้นไปเลือกจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทนิติบุคคลน่าจะดีกว่าเพื่อเป็นการรองรับการเติบโตที่จะนำมาสู่รายได้ที่มากขึ้นในอนาคตด้วย แต่จะมีข้อจำกัดอยู่ที่บริษัทนิติบุคคลจะต้องมีการทำบัญชีตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่เข้มงวดมากนั่นเอง

       อีกส่วนหนึ่งที่จะมีผลช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระให้กรมสรรพากรคือเรื่องการเลือกรูปแบบการหักภาษีซึ่งทางกรมสรรพากรได้มีช่องทางให้เลือก 2 วิธี คือการคิดแบบตามความเป็นจริงหรือจะใช้อัตราเหมาจ่ายซึ่งถ้าคิดตามอัตราความเป็นจริงจะได้ในเรื่องความละเอียดด้านค่าใช้จ่ายที่จะเสียภาษีตามความเป็นจริงของรายได้ในปีนั้น แต่ถ้าเป็นการคิดแบบอัตราเหมาจ่ายจะได้ในเรื่องของความสะดวกสบายที่ไม่จำเป็นต้องเก็บรายละเอียดทางด้านการเงินตลอดทั้งปีไว้ซึ่งอาจสูญหายได้นอกจากนี้ยังสามารถหักค่าใช้จ่ายได้มากกว่าความเป็นจริงและกินส่วนต่างได้อีกด้วย

       ตามกฎหมายได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าผู้ประกอบการธุรกิจไม่ว่าจะเป็นส่วนบุคคลหรือนิติบุคคลสามารถใช้สิทธิการหักค่าลดหย่อนเพื่อลดรายจ่ายในด้านภาษีได้ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะค้นหาว่าการทำธุรกิจของตนเข้าข่ายที่จะได้รับการยกเว้นในเรื่องอะไรบ้างทั้งในแบบส่วนบุคคลและบริษัทซึ่งอาจจะมีมากกว่าหนึ่งข้อก็เป็นได้เมื่อค้นพบสิทธิที่ตรงกับตนเองและธุรกิจแล้ว ขั้นต่อมาคือดำเนินการหักให้ได้เยอะมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะเป็นวิธีการช่วยเซฟรายจ่ายไปได้ค่อนข้างมากทีเดียว

       การซื้อหน่วยลงทุนเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายภาษีได้ ซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจการดำเนินธุรกิจจากนโยบายภาครัฐโดยผู้ประกอบการสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี มีเงื่อนไขว่าจะต้องซื้อและถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับตามปีปฏิทิน) ทั้งนี้ การให้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการซื้อ LTF เกิดจากการที่รัฐบาลต้องการสนับสนุนให้ลงทุนในหุ้นมากขึ้น โดยเงินซื้อหน่วยลงทุน LTF สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่ลงทุนจริง สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปีและต้องไม่เกิน 500,000 บาทด้วย

       การทำประกันภัยในรูปแบบต่างๆให้กับทั้งตัวบริษัทและพนักงานเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยประหยัดค่าภาษีได้เป็นอย่างดีโดยใช้หลักการเงินนำเอาผลกำไรไปแปลสภาพเป็นรายจ่ายของทางบริษัทที่อยู่ในรูปแบบของการทำประกันภัยให้กับบริษัททั้งวินาศภัย อัคคีภัย วาตภัย ฯลฯ หรือจะทำให้ในส่วนของตัวบุคคลทั้งผู้บริหารและพนักงานโดยนำกรมธรรม์ที่ได้มาไปใช้เป็นเครื่องมือจัดการในเรื่องภาษีให้กับทางบริษัทซึ่งสามารถหักค่าลดหย่อนได้ถึง 100% และบริษัทยังมีเงินออมที่ได้จากการทำประกันเอาไว้ใช้สอยในอนาคตอีกด้วย

       ผู้ประกอบการสามารถนำเงินผลกำไรที่ได้มานำไปต่อยอดทำธุรกิจต่อได้อีก ด้วยการเข้าซื้อบริษัทที่น่าจะมีผลกำไรหรืออนาคตที่สดใสในธุรกิจเพื่อเป็นการเพิ่มรายจ่ายให้กับบริษัทซึ่งพอรายจ่ายเพิ่มผลกำไรก็จะลดลงและก็จะจ่ายภาษีในอัตราที่ลดลงด้วยแถมยังได้บริษัทมาบริหารเพิ่มขึ้นอีก 1 กิจการ ทำลักษณะดังกล่าวนี้ต่อไปเรื่อยๆจนเป็นวงจรลูกโซ่จะช่วยลดรายจ่ายในเรื่องของภาษีเป็นอย่างดี ด้วยวิธีการที่เรียกว่าการแตกหน่วยภาษี นั่นเอง

       เพราะการเสียภาษีมีส่วนกระทบต่อรายได้ของบริษัทที่ประกอบธุรกิจเป็นอย่างมากซึ่งหลายบริษัทมองว่าสิ่งนี้คือปัญหาต่อการเติบโตในอนาคตซึ่งความจริงแล้วการเสียภาษีไม่ได้เป็นเรื่องยากและสิ้นเปลืองอย่างที่ผู้ประกอบการคิดขอเพียงมีการดำเนินงานวางแผนการจ่ายภาษีให้ดีและรัดกุมเข้าไว้แค่เท่านี้ก็สามารถเซฟเงินรายจ่ายทางด้านของภาษีไปได้มากที่สำคัญบริษัทของผู้ประกอบการจะมีที่ยืนบนสังคมในอนาคตด้วยและไม่ต้องคอยหลบๆซ่อนๆกับกรมสรรพากรอีกต่อไป

 

 

 

บทความโดย :  incquity
ประกาศบทความโดย :  http://www.prosmes.com

 1463
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์