การบัญชีขนาดธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

การบัญชีขนาดธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

 

 

 

 

การบัญชีขนาดธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

       ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน รัฐบาลได้ส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีจำนวนมาก และมีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยิ่ง ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีบทบาทในธุรกิจของไทย มาตั้งแต่ในอดีตและเป็นที่รู้จักของคนไทยมาตลอด หลังจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจรุนแรงนับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ธุรกิจขนาดใหญ่มาประกอบการโดยแข่งขันกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อม ไม่สามารถดำเนินการทางธุรกิจได้และมีอันล้มเลิกไปจำนวนมาก ต่อมารัฐบาลจึงมาการออกนโยบายและมาตรการ
กอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจหลากหลายมาตรการ โดยมาตรการหนึ่งที่มีผลทำให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นคือ การส่งเสริม ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เมื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจัดตั้งส่วนหนึ่งที่สำคัญในการดำเนินงาน คือ ระบบบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่สามารถทำให้ธุรกิจดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความ
คล่องตัวรวมถึงการควบคุมภายในของธุรกิจเพื่อป้องกันการทุจริต

       เนื่องจากธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมบางส่วนจะอยู่ในฐานนิติบุคคล ดังนั้นจึงต้องมีการเกี่ยวข้องกับ การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งเป็นภาษีที่จัดเก็บจากกำไรสุทธิจากการดำเนินงานของกิจการ ที่สถานะเป็นนิติ บุคคลตามกฎหมาย ยกเว้นกิจการที่ได้รับการส่งเสริม เป็นเจ้าของสถานประกอบการประเภทธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมจึงควรให้ความสำคัญ และความสนใจในเรื่องการเสียภาษี และการบัญชีที่ต้องดำเนินการจัดทำ ให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนด

องค์ประกอบการจัดทำบัญชีในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

       1. เอกสารที่บันทึกบัญชี

          1.1 แบบฟอร์มเอกสารทางบัญชีที่เกี่ยวข้องและใช้งานประจำวันของธุรกิจใบสำคัญจ่าย ใบกำกับสินค้า ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น
          1.2 สมุดบันทึกบัญชีเบื้องต้น เช่น สมุดเงินสดรับ สมุดเงินสดจ่าย สมุดรายวันซื้อ สมุดรายวันขาย สมุดรายวันทั่วไป เป็นต้น
          1.3 บัญชีแยกประเภททั่วไป บัญชีสินทรัพย์ บัญชีหนี้สิน บัญชีทุน บัญชีรายได้และบัญชีค่าใช้จ่าย
          1.4 รายงานต่าง ๆ หรืองบการเงินที่เสนอต่อผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ เช่น รายงานยอดขายและค่าใช้จ่าย งบประมาณแต่ละแผนก งบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล งบกระแสเงินสด

      2. ขั้นตอนในการใช้แบบฟอร์ม แต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ฝ่ายขายฝ่ายการเงิน 
ฝ่ายบัญชี เป็นต้น

      3. เครื่องใช้สำนักงานและเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจัดทำเอกสารและรายงานต่าง ๆ และทันเวลา เครื่องใช้สำนักงานที่ใช้ได้แก่ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องคิดเลข เครื่องพิมพ์ดีดเครื่องบันทึกการเก็บเงินและ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปมาใช้

       ระบบบัญชีมีส่วนช่วยทำให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการดำเนินงานที่ดี มีความคล่องตัว 
ลดค่าใช้จ่าย มีการควบคุมภายในที่ดีและป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งใช้จ่ายบางรายการก็ถือเป็น
ค่าใช้จ่าย ได้และบางรายการไม่สามารถนำมาคำนวณได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการตามประมวลรัษฎากร
ของกรมสรรพกร ที่เจ้าของสถานประกอบการควรตระหนักและศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อการนำไปปฏิบัติ
ให้ถูกต้องต่อไป เช่น

       ค่ารับรองที่เป็นรายจ่ายได้ : ค่ารับรองที่นำมาเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ แม้จะมีหลักฐานแล้วก็ตาม
จะต้องไม่เกิน 0.3% ของยอดขายหรือทุนที่ชำระ แล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า

       รายจ่ายเพื่อการกุศล การศึกษา และการกีฬา : นำมาเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ แต่ต้องเป็นไปตามที่
อธิบดีกำหนด

1. รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะไม่เกิน 2 % ของกำไรสุทธิ
2.   รายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา ไม่เกิน 2 % ของกำไรสุทธิ

       ผลขาดทุน : ผลขาดทุนที่สามารถยกมาเป็นรายจ่ายได้จะต้องเป็นผลขาดทุนสะสมที่ยกมาไม่เกิน 5 ปี

       การนำส่งภาษี : ใช้แบบ ภ.ง.ด.50 (นิติบุคคลทั่วไป) , ภ.ง.ด.55 ( มูลนิธิและสมาคม ) นำ ยื่นภายใน 150 วัน นับจากวันสุดท้ายของวันสิ้นสุดรอบระยะบัญชี 



บทความโดย : www.ckec.ac.th
ประกาศบทความโดย : http://www.prosmes.com

 3287
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-739-5902

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-739-5903

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์